Easyhome 2010
IsanGate.com
Home Navigation Bar
Home Basic HTML Review Software More Tip & Tricks Download Software Site Map

Last Updated :
Webmaster Talk New Update
arrowAI Future Technology

AI เทคโนโลยีแห่งอนาคต นับวันคอมพิวเตอร์เทคโนโลยียิ่งกล่าวล้ำ สามารถเรียนรู้ ศึกษา พัฒนา จนในอนาคตไม่ไกลจากนี้ คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเลียนแบบมนุษย์ได้ รู้ว่ามนุษย์เจอเหตุการณ์แบบนี้แล้วจะต้องตัดสินใจอย่างไร แม้จะไม่ตรงนักก็ใกล้เคียง ที่เราเห็นได้ชัดเจนในยุคแรกๆ ของ AI (Artificial Intelligence) หรือภาษาไทยเราเรียกว่า "ปัญญาประดิษฐ์" ก็คือ ระบบอัตโนมัติในเครื่องจักรกลในโรงงาน ระบบการขับขี่อัตโนมัติ และถ้าวันนี้ Microsoft, Google, Facebook, Amazon หรือ Apple ต่างก็ให้ความสนใจนำปัญญาประดิษฐ์นี้ มาใช้ในกลยุทธ์การขายและการตลาดกัน สังเกตไหมว่า ถ้าเราคุยกับเพื่อนบนเฟซบุ๊คเรื่อง สีทาบ้าน ไม่นานโฆษณาสีทาบ้านยี่ห้อต่างๆ มันจะผุดขึ้นมาให้เห็นเลย มันรู้ได้ไง นี่แหละ AI ที่ทาง Facebook เขาใช้เก็บพฤติกรรมของผู้ใช้งาน แล้วนำเอาโฆษณาที่พวกเราสนใจมานำเสนอ เราได้เล่น เขาได้ค่าโฆษณา ล้ำไปอีก...


AI เทคโนโลยีที่น่ากลัวกว่าที่คิด

พอโลกเราเดินมาถึงยุคนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากสี่สุดคือ ความปลอดภัย (Security) บางคนอาจจะคิดว่า จะกลัวอะไรกันนักหนา เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต หรือ โทรศัพท์มือถือของเราก็อยู่กับเราตลอดเวลา ใครจะมาล้วงข้อมูลเราได้ แต่ในความเป็นจริง มันไม่เป็นไปเช่นนั้น เราเองนี่แหละได้ไปปล่อยข้อมูลส่วนตัวมากมายไว้ในโลกออนไลน์ และเป็นเอกสารในโลกแห่งความจริง เช่น คุณไปสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้ให้บริการ คุณต้องให้สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวของคุณประกอบคำขอด้วย แล้วมันมีปรากฏว่า เคยไปซื้อกล้วยแขก มันทอด ที่ใส่ในถุงกระดาษมา แล้วดันไปเจอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนตัวเองหรือคนอื่นบ้างไหม เลข 13 หลักในบัตรมันสามารถนำไปสู่การทำธุรกรรมต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นว่า โดนเอาไปกู้เงินเป็นหนี้นับล้านบาทมาแล้ว

ที่โด่งดังช่วงปีที่ผ่านมาคือ มีข้อมูลบัตรลูกค้าของ บริษัทโทรศัพท์ความจริง ได้รั่วไหลออกไปสู่โลกออนไลน์นับหมื่นคน แล้วบริษัทที่ว่าก็แก้เกี่ยวว่าโดนแฮกเกอร์ล้วงข้อมูล ทั้งๆ ที่ในความจริงบริษัทไม่ปิดประตูห้องเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ เปิดเผยอ้าซ่าให้คนอื่นเข้าไปดูมาตลอด

การที่เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองให้กับผู้ให้บริการต่างๆ ทางออนไลน์ โอกาสที่ข้อมูลนั้นจะรั่วไหลมีมากน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าองค์กรนั้นเคร่งครัดขนาดไหน เอาแค่คุณไปสมัครบัตรเครดิตไว้สักใบ ไม่ทันไรเลย จะมีโบรกเกอร์ขายประกันภัยต่างๆ โทรเข้ามาชวนทำประกันภัย ผ่านบัตรเครดิตที่คุณเพิ่งสมัครทันที เขารู้ได้อย่างไร?

ไม่ต้องสงสัยหรอก ข้อมูลของเราถูกขายไปยังบริษัทเหล่านี้ ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย ล้วนมีความเกี่ยวข้องในธุรกิจเดียวกันเสมอ ไม่รอดแน่ เพียงแต่เราจะตั้งรับกับกระสือเหล่านี้อย่างไร ก็เท่านั้นเอง ทุกวันนี้ ไม่ว่าคุณจะแช็ทกับเพื่อนด้วยเสียง ด้วยข้อความก็ตาม ล้วนถูกตามเก็บข้อมูลด้วยแอพพลิเคชั่น และระบบปฏิบัติการต่างๆ ทั้งนั้น เราจะได้รับข่าวสารมาเป็นระยะๆ ว่า เครื่องมือถือ แท็ปเล็ต ยี่ห้อนั้นนี้ (โดยเฉพาะจากฝั่งจีน) มีการแอบส่งข้อมูลกลับไปยังผู้ผลิตด้วยวิธีการต่างๆ จนถูกแอนตี้มากมายจากลูกค้า มีทั้งที่ออกมายอมรับแล้วถอดโปรแกรมออกไป และที่ไม่ยอมรับก็มาก อ้างว่าเพราะแอพพลิเคชั่นอื่น หรือบ้างก็ออกมาอ้างว่า เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น แล้วมันดีไหม?

เทคโนโลยีสมัยใหม่ เราเคยเป็นห่วงเป็นใยกับเด็กและเยาวชน แต่เมื่อโลกเปลี่ยน ตอนนี้เราห่วงผู้ใหญ่มากกว่า โดยเฉพาะบรรดา สว. (สูงวัย) ที่เพิ่งจะมาเริ่มสนุกกับแอพพลิเคชั่น Line, Facebook ตามหลังเด็กๆ นี่แหละ เพราะอะไรถึงห่วง คำตอบคือ ถูกหลอกง่ายและแชร์ไว ไม่ตรวจสอบข้อมูล เพราะมีความเชื่อว่า ตนอาบน้ำร้อนมาก่อน ผ่านโลกมามาก ไม่มีใครมาหลอกได้ ในขณะที่เด็กๆ เขาผ่านการอำ การหลอกมามากมาย จนวิเคราะห์ได้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ สว. จึงถูกหลอกได้ง่ายกว่า เมื่อเห็นเพื่อนแชร์มา (เพื่อนคนนี้ก็มีหน้าตาในสังคม มีเกียรติ มีตำแหน่งที่ดี คงไม่หลอกมั๊ง) เมื่อเพื่อนแชร์ "น้ำมะนาวใส่โซดาดื่มทุกเช้าแก้มะเร็ง" ก็เลยเชื่อกันใหญ่ แชร์กันไปเป็นไฟลามทุ่ง สังคมโลกออนไลน์ โลกเสมือน จึงเป็นอันตรายต่อพวก สว. มากกว่าเด็กๆ ครับ

ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นคือ สว. เป็นพวกไม่จำอะไรที่ซับซ้อน เช่น รหัสผ่านยากๆ จึงมักจะใช้รหัสผ่านสำหรับล็อกอินแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยรหัสผ่านที่ไม่ควรเป็นรหัสผ่านเลย เช่น 123456, ABCDEF, DDMMYYYY, Telephone Number (หมายเลขโทรศัพท์, วันเดือนปีเกิด, ชื่อลูก, ชื่อหมา, ชื่อแมว) เวลาเครื่องโทรศัพท์พัง โทรศัพท์หาย ไปซื้อใหม่ก็ให้ร้านเขาลงแอพ กำหนดรหัสผ่านใหม่ ก็ไม่เคยจดใส่กระดาษเก็บไว้ ไม่เคยคิดมาเปลี่ยนรหัสใหม่อีกเลย พอเครื่องเจ๊งก็ทำอีหรอบเดิมอีก เราจึงเห็นเพื่อนออนไลน์พวกนี้มีชื่อบัญชีใหม่ๆ มาเรื่อยนั่นเอง พอเพื่อนถามทำไมเปลี่ยน/สร้างบัญชีใหม่ ก็จะตอบเอาเชิงว่า "อันเก่าโดนแฮค" จริงๆ แล้ว สมองของ สว. นั่นแหละที่โดนแฮคไปหมดแล้ว เอวัง...

นอกจากนี้ AI ยังเป็นเทคโนโลยีที่เป็นฝันร้ายของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ อาชีพ ซึ่งมันมีส่วนคืบคลานเข้ามาแล้ว เช่น อาชีพขับรถ มนุษย์เรานั้นมีความอ่อนเพลีย เหนื่อย เมื่อยล้า ในการทำงาน ยิ่งเป็นการทำงานซ้ำๆ ยิ่งน่าเบื่อ ตอนนี้ มีการพัฒนารถบรรทุกขนส่งอัตโนมัติ ที่ขับไปได้เองไม่เหนื่อย เมื่อยล้า ตรงเวลาได้ดีกว่ามนุษย์ อีกงานก็เป็นพวกฝั่งอาชีพ การบัญชี การเงิน การลงทุน เดี๋ยวนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน จากสถิตินับล้านๆ ทั่วโลก ซึ่งผลการวิเคราะห์ทำได้แม่นยำกว่ามนุษย์ สามารถค้นหา บันทึกได้อัตโนมัติรวดเร็วกว่าคนอีก และที่โดนแย่งงานไปแน่นอนแล้วตอนนี้ คือ งานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ที่หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ได้ดี เร็ว แม่นยำกว่า โลกข้างหน้าเราต้องรับมือกันให้ดีนะครับ

Webmaster    
19 August 2018
   

OpenSource

เปิดโลกซอฟท์แวร์เสรี หรือที่เรียกกันติดปากว่า "โอเพนซอร์ส Open Source" เรื่องราวหลากหลายซึ่งในอดีตสนใจกันเฉพาะกลุ่ม ผมเคยพูดถึงมาหลายปี แต่หลบมุมอยู่ในเรื่องชวนคุยจากเว็บมาสเตอร์ แต่ ณ เวลานี้ ความนิยมชมชอบและการพัฒนาของวงการโอเพนซอร์สนั้นเป็นไปแบบก้าวกระโดด ทั้งระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์หลายตัว ถูกนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในองค์กรภาครัฐ สถานศึกษา หน่วยงานเอกชน และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน

ไม่ได้ทำไปตามกระแส แต่นำเสนอเพราะมนต์เสน่ห์ของโอเพนซอร์สต่างหาก ที่ผมได้เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนผู้ใช้งาน และสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำไปใช้งาน ไปใช้สอนในโรงเรียน และสถานศึกษาอย่างกว้างขวาง ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่สนใจหรือสงสัยว่า มันใช้งานได้จริงหรือ? ก็ขอเชิญชวนให้อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องได้จากลิงก์ข้างล่างนี้

ช่วงนี้สำหรับคนสนใจด้านโอเพ่นซอร์ส มีระบบปฏิบัติการที่อยากแนะนำให้ใช้งานหลายเวอร์ชั่น สำหรับคนเครื่องแรงๆ หน่อยคุ้นเคยกับวินโดว์ ก็ลองมาใช้งานระบบปฏิบัติการ Ubuntu กันดูนะครับลิงก์นี้เว็บภาษาไทย มีข่าวสารความเคลื่อนไหวให้ติดตามมากมาย (เสียดายฟอรั่มเก่าๆ หายไปไหนหมดไม่รู้) จะดาวน์โหลดมาเล่นกันกับเวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็ที่ Ubuntu.com โดยตรง ฟรี ครับท่าน อ่านตามลิงก์ได้เลย ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวงการ Opensource Thai ได้ที่นี่กันเลย


Welcome to Easyhome in Thailand

Easyhome in Thailand ก่อกำเนิดมาตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2541 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป คนรักการสร้างบ้าน (Web site) บนอินเทอร์เน็ต แหล่งความรู้ล้วนมีมากมายไม่มีที่สิ้นสุดในโลกไซเบอร์ ที่นี่เป็นเพียงหนึ่งในนับจำนวนล้านเว็บไซต์ที่อาจช่วยคุณได้

บ้านหลังนี้ยังมีเรื่องราวของเกร็ดความรู้เด็ดๆ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์จากเพื่อนฝูงในวงการ (ที่เสนอแนะกันมา) จากกระทู้ในเว็บบอร์ดหลายแห่งอาทิ Pantip.Com จากเว็บไซต์ต่างประเทศที่ผมพบเห็น เทคนิคการใช้งานโปรแกรมต่างๆ และแนะนำโปรแกรมที่น่าสนใจไว้ข้างกายคุณมากหลาย ทุกๆ โปรแกรมที่แนะนำ ได้ผ่านการทดลองใช้งานจริงมาแล้ว ถ้าเป็นอาหารก็แบบเชลล์ชวนชิม หรือ แม่ช้อยนางรำ รับประกันคุณภาพ แต่ถ้าเป็นที่นี่ก็ต้องบอกว่า Easyhome Approved! อีกแล้วครับท่าน

ปรดให้คำแนะนำเสนอแนะกันมาด้วยครับ ถ้าพบว่า มีข้อผิดพลาดในจุดใดๆ ก็ตาม ผมยังคิดเสมอว่า ผมเป็นแค่ "มือสมัครเล่น" เพียงแต่ชอบทดลองใช้ ทดลองทำเท่านั้น และยังมีนิสัยเสียที่เมื่อทำได้แล้วก็อยากอวดให้คนอื่นได้รู้ ไม่อยากเก็บไว้เพียงคนเดียว จึงเป็นจุดกำเนิดเว็บไซต์นี้ขึ้นมาครับ

 
OS on Mobilephone and Tablet เลือกใช้ระบบปฏิบัติการอะไรดีในอุปกรณ์โมบายล์ New!
การสร้าง USB Boot Disk เพื่อใช้ติดตั้งระบบปฏิบัติการต่างๆ ด้วยซอฟท์แวร์ RUFUSNew!
Windows 8 Start Screen ไม่ชอบเลยอยากให้เหมือนเดิมทำอย่างไร?New!
จัดการทำความสะอาดไฟล์ไม่พึงประสงค์ด้วยโปรแกรมฟรีๆ CCleaner กันดีกว่า New!
แล้วมาต่อด้วยการจัดเรียงพื้นที่ไฟล์บนฮาร์ดดิสก์ด้วยโปรแกรม Defraggler ฟรีๆ อีกแล้วครับท่าน New!
ลองของใหม่ Windows 8 Consumer Preview ใครใคร่ลอง ลองกันเลยNew!
สร้างเว็บไซต์ด้วย CMS Web 2.0 ไม่ใช่เรื่องยากแล้วNew!
ออกแบบเทมเพลตสวยให้ CMS ด้วย Artisteer 2.x ง่ายๆ สวยไม่เหมือนใครNew!
ตรวจสอบลิงก์ในเว็บคุณให้ถูกต้อง ด้วยซอฟท์แวร์เสรี Links Checker สุดยอดจริงๆNew!
เทคนิคแก้วรรณยุกต์ลอยใน PhotoshopCS แจ่มๆ ครับNew!
Ace Optimizer Utilities โปรแกรมทำความสะอาด ลบไฟล์ขยะในเครื่อง ทำงานได้เร็วทันใจ New!
จับภาพหน้าจอด้วยโปรแกรม FastStone Capture 5.3 ง่าย ดี และฟรีอีกต่างหาก
Able 2 Extract 4.0 โปรแกรมแปลงไฟล์ PDF เป็น Word, Excel and More...


Text Links DD for You!
24แนะนำเว็บดีๆ ของคุณที่นี่
24ซื้อคอมพิวเตอร์ดีดีที่อุบลฯ
24บอกเว็บไซต์ดีดีของคุณที่นี่!
 
 
ADS 250x250
Easyhome in Daily Web ครั้งที่ 2

เดลี่@web#2
175x120
arrowInterestest Link :



eXTReMe Tracker
This web site created & designed by Montree Kotkanta
Copyright © 1998-2017 : Easyhome in Thailand
กระดานแลกเปลี่ยนความรู้ อ่านและเขียนสมุดเยี่ยมครับ Send mail to me
     
คุณมาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่ : ๓ ก.ค. ๒๕๔๑
red line
Home | What's new? | Basic HTML | Reviews Programs | Tip&Tricks | Download | Site Map
red line
Thanks to my host server IsanGate to support this website.