foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

USB Bootable by RUFUS

มีเพื่อนๆ สอบถามมาว่า ประสบปัญหาในการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ทั้งการติดตั้ง Windows, Linux ใหม่ ด้วยสาเหตุที่เครื่องเล่น CD/DVD เสีย หรือเครื่องรุ่นใหม่ๆ ทั้งพีซี/โน้ตบุ๊คก็ล้วนแต่ตัดอุปกรณ์ที่เป็น Optical Drive อย่าง CD/DVD ทิ้งไปเพื่อลดต้นทุน และด้วยเทคโนโลยีของอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพาราคาถูกลง มีขนาดเล็กแต่จุเยอะ จึงเป็นที่นิยมมากกว่า ทราบว่า สามารถทำอุปกรณ์พกพาอย่าง USB Disk เป็นตัวช่วยบูตเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งตัวระบบปฏิบัติการได้ได้ ก็อยากรู้วิธีการทำบ้างว่ายากง่ายเพียงใด ติดตามกันได้เลยครับ

win 10 bootable usb

ในปัจจุบันนี้ ถ้าซื้อระบบปฏิบัติการ Windows 10 ใหม่จะไม่ได้รับแผ่น DVD ติดตั้งมาแล้วนะครับ จะได้ USB Disk แบบรูปข้างบนมาเลย แต่ถ้าใครมีแผ่น DVD ระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว อยากทำ USB Disk ติดตั้งก็ทำได้ไม่ยากครับ

UEFI bootable USB Windows 10 step12 thumb

เมื่อก่อนนั้นนิยมใช้ซอฟท์แวร์ชื่อ UNetbootin, Universal USB Installer หรือ Windows 7 USB download tool ในการสร้างไดรฟ์ USB ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows แต่มักจะประสบปัญหาที่ซอฟท์แวร์บางตัวนั้นใช้ได้เฉพาะกับไฟล์ ISO ต้นฉบับเท่านั้น ถ้ามีการดัดแปลงไฟล์เช่นเพิ่มเติมไฟล์อัพเดทล่าสุดเข้าไปด้วย จะไม่สามารถนำมาใช้งานทำตัวติดตั้งได้เลยได้เลย

rufus 01

โชคดีที่มีผู้พัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อใช้ในการนี้ขึ้นมา และยังแจกให้ใช้งานได้ฟรีๆ อีกด้วย แถมยังมีคุณสมบัติที่ทำงานได้เร็วกว่าซอฟท์แวร์ที่กล่าวมาทั้งหมดด้วย ซอฟท์แวร์นี้ชื่อ Rufus Downloads (เลือกเวอร์ชั่นล่าสุด คลิกดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลยครับ ขณะปรับปรุงบทความนี้เป็นเวอร์ชั่น 3.4 ดังภาพ)

rufus 02

การใช้งานก็ง่ายมากๆ ครับ เตรียม USB Disk ขนาดอย่างน้อยควรเป็น 8GB เพื่อให้เพียงพอกับระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่ค่อนข้างโตพอสมควร จะฟอร์แมตมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่อย่าให้มีข้อมูลสำคัญของคุณอยู่ในนั้น (มันจะถูกลบไม่เหลือเลยนะ) และเตรียมไฟล์ ISO Image ของระบบปฏิบัติการที่คุณต้องการใช้งาน จะเป็น Windows, Linux เวอร์ชั่นที่เหมาะสมกับเครื่องของคุณให้พร้อม

 rufus 03

 จากนั้นก็คลิกขวาที่ไฟล์ Rufus (เวอร์ชั่นล่าสุด) แล้วเลือก Run as Administrator ก็จะพบกับหน้าต่างของโปรแกรมดังภาพด้านล่างนี้

rufus 04

อธิบายตามรูปเลยนะครับ ช่องแรก Device จะเป็นการเลือกไปที่ไดรว์อุปกรณ์ USB ที่เราต้องการใช้งาน (ในรูปจะเป็นไดรว์ F: ขนาด 8GB) ช่องที่ 2 Boot Selection ให้เราคลิกที่ปุ่ม SELECT เพื่อเลือกไปยังไฟล์ *.ISO ต้นฉบับระบบปฏิบัติการ ถัดมาจะเป็นการเลือกระบบพาร์ทิชั่น Partition Scheme เมื่อก่อนฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กๆ ทั่วไปจะเป็นแบบ MBR ตอนหลังมีพาร์ทิชั่นแบบ GTP ให้เลือก ก็ต้องดูว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะนำไปติดตั้งเป็นพาร์ทิชั่นแบบใด

MBR ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้พาร์ทิชั่นแบบ MBR รองรับ HDD สุงสุด 2TB ซึ่งตอนนี้ราคายังสุง แต่อีกไม่นานคงถูกลงแน่นอน แบบเดียวกับ Flash Drive ที่ราคาต่อ MB ลดลงเรื่อยๆ
GPT GUID Partition Table หรือ GPT เป็นรูปแบบ Partition table แบบใหม่ มาแทน MBR ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้พาร์ทิชั่นแบบ GPT รองรับสูงสุด 256TB (อย่างเยอะเนาะ)

 

partition hdd

จากรูปจะเห็นว่าโดยทั่วไปนั้น HDD แบบ MBR รองรับทุกเวอร์ชั่นของ Windows แต่ GPT จะรับเฉพาะ WIndows รุ่นใหม่ๆ ที่เป็นแบบ 64 บิต เอาเป็นว่าตั้งแต่ Windows 7 ขึ้นไปนี่แหละ (จริงๆ เริ่มมีให้เห็นมาตั้งแต่ Windows 8 ที่เป็น OEM มากับเครื่องแบรนด์ต่างๆ ก่อนหน้านั้นผมก็เห็นมีแต่แบบ MBR กันทั้งนั้น)

ที่น่าสนใจในตอนนี้คือ จำนวน Primary Partition ที่ GPT ทำได้สุงสุดถึง 128 ตัว นั่นหมายถึง เราสามารถลง Windows ให้เครื่อง Boot ได้แตกต่างกันมากถึง 128 เวอร์ชั่น คิดว่าคงไม่มีใครอยากทำอะไรแบบนั้นเท่าไหร่

แต่... ผมมีปัญหากับฮาร์ดดิสก์ที่เป็นแบบ GPT ตรงที่ไม่สามารถลง Windows 7 จากแผ่นได้เลย จะ GHOST ก็ไม่ได้ด้วย (คนที่ชอบแบบสะดวกลงทีเดียว ทำสำเนาไปเครื่องอื่นๆ ที่มีฮาร์ดแวร์เดียวกันยากไปอีก) ต้องหาวิธีทำให้มันกลับมาเป็นพาร์ทิชั่นแบบ MBR ทุกครั้ง

ต่อมาเลือก Target system ว่าเป็น BIOS หรือ UEFI พักหลังๆ มานี้สังเกตว่าโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ใช้ UEFI มากขึ้นแล้ว ซึ่งจะว่าไป UEFI มันก็คือ BIOS ดีๆ นี่เอง แต่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น ก็ขอยกคำอธิบายจาก Microsoft มาเลยดีกว่าครับ

UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) คือ ส่วนติดต่อเฟิร์มแวร์มาตรฐานสำหรับพีซี ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แทน BIOS (Basic Input/Output System) มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยบริษัทด้านเทคโนโลยีกว่า 140 บริษัท โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท UEFI รวมทั้ง Microsoft ด้วย เฟิร์มแวร์นี้ได้รับการออกแบบขึ้น เพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์ และเพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของ BIOS ข้อได้เปรียบบางประการของเฟิร์มแวร์ UEFI ได้แก่

  • ความปลอดภัยที่ดีขึ้น ด้วยการช่วยปกป้องกระบวนการก่อนเริ่มต้นระบบ หรือ Pre-boot จากการโจมตีที่ bootkit
  • เวลาเริ่มต้นระบบและการกลับมาดำเนินการต่อจากการไฮเบอร์เนตที่รวดเร็วขึ้น
  • รองรับไดรฟ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.2 เทราไบต์ (TB)
  • รองรับโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เฟิร์มแวร์แบบ 64 บิตรุ่นใหม่ ที่ระบบสามารถใช้เพื่อจัดการหน่วยความจำขนาดสูงกว่า 17.2 พันล้านกิกะไบต์ (GB) ระหว่างเริ่มต้นระบบ
  • มีความสามารถในการใช้ BIOS กับฮาร์ดแวร์ UEFI

สิ่งที่ผู้ใช้งานอย่างพวกเราจะรู้สึกได้ก็คือ การ Boot เข้า Windows นั้นทำได้รวดเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะ Windows 8 ที่แต่เดิมก็เร็วอยู่แล้ว พอมาใช้ UEFI ก็ยิ่งเร็วขึ้นไปอีก

UEFI จะถูกตั้งเป็นค่าเริ่มต้นของโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ แทบจะทุกรุ่น แต่ที่สำคัญคือ โน้ตบุ๊คบางรุ่น บางยี่ห้อ จะไม่มีฟังก์ชั่นในการปรับ UEFI ให้เป็น Legacy BIOS (ไบออสแบบเก่า) ปัญหาที่พบทุกครั้งคือ พอเป็น UEFI แล้ว ถึงจะไปตั้ง Boot ด้วย DVD ก่อน HDD เครื่องมันก็จะข้าม DVD ไปเลย ทำให้ติดตั้งระบบปฏิบัติการจากแผ่น DVD ไม่ได้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ผมจึงเลือกเป็น BIOS (or UEFI -CSM) เพื่อให้ใช้งานได้ทั้ง 2 แบบ หรือจะเลือกเป็น UEFI ก็ตามใจหากเครื่องติดตั้งใหม่เป็น UEFI

ถัดมา ช่อง Volume label จะตั้งชื่อให้สื่อความหมายว่าเป็นระบบปฏิบัติการใดก็ได้ ถ้าไม่ตั้ง ตัวโปรแกรมจะนำเอาชื่อไฟล์ *.ISO มาใส่ให้อัตโนมัติ เมื่อทุกอย่างหร้อมก็กดปุ่ม START ได้เลย

rufus 05

เมื่อคลิกปุ่ม START ตอนนี้โปรแกรม Rufus จะทำการ Format USB Drive และทำการคัดลอกไฟล์ติดตั้งจาก ISO Image ลงไปที่ USB Drive นั่งรอจนกว่าจะเสร็จสิ้น (ความเร็วขึ้นอยู่ที่เครื่องที่ใช้ทำ CPU แรง RAM เยอะ มีพอร์ต USB3 และตัว USB Drive ที่อ่านและเขียนได้เร็วก็จะเสร็จเร็วขึ้น) 

rufus 06

ถึงตอนนี้จะสังเกตเห็นว่า ไดรว์ F: จะเปลี่ยนชื่อจาก NO_LABEL เป็นชื่อตามไฟล์ ISO Image ที่เราเลือกมา ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว READY ก็กดปุ่ม CLOSE นำเอาไดรว์ USB ที่ได้ไปจัดการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการได้แล้ว

วิธีการสำคัญที่ไม่อาจละเลยคือ เครื่องที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ต้องจัดการ BIOS ของเครื่องให้บูตจาก USB เป็นลำดับแรก (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของเมนบอร์ด ว่าจะมีการกำหนดอย่างไร) เช่น อาจต้องกดปุ่ม DEL บนคีย์บอร์ดเพื่อเข้าไปตั้งค่า บางยี่ห้อกดปุ่ม ESC บางยี่ห้อกดปุ่ม F12 ก็ลองศึกษาจากคู่มือของเมนบอร์ดยี่ห้อนั้นๆ ใช้อากู๋ (Google) ให้เป็นประโยชน์เองนะครับ

มีคำถามว่า ถ้าเราจะแปลงพาร์ทิชั่นแบบ GPT ไปเป็นพาร์ทิชั่นแบบ MBR ได้ไหม เพื่อจะได้สามารถลงระบบปฏิบัติการแบบเดิมๆ ได้ และสามารถทำการสำเนา (GHOST) ได้สะดวกด้วย

วิธีเปลี่ยน Harddisk จาก GPT เป็น MBR ด้วยโปรแกรม miniTools Partition Wizard Home

วิธีการก็ไม่ยากเลยครับ ก็แค่แกะเอาตัว HDD ที่เป็น GPT ไปใส่กล่องทำเป็น External HDD แล้วนำไปเสียบช่อง USB เข้ากับเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการ Windows

MiniTool Partition 01

เปิดโปรแกรมขึ้นมา คลิ๊กขวาที่ HDD เลือก Convert GPT Disk to MBR Disk (กดที่รูปเพื่อดูภาพขนาดขยาย)

MiniTool Partition 02

กดปุ่ม Apply ด้านบน เป็นอันเสร็จสิ้น หลังจากนี้ จะเอา HDD ไปลง Windows หรือ GHOST ก็จะไม่ติดปัญหาแต่อย่างใดแล้วครับ สามารถไปดาวน์โหลดโปรแกรม miniTools Partition Wizard Home ได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ Download Now!

 

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)