foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

sold power rooftop

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบ ประกาศรับซื้อไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชน ประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2565 ที่ราคาหน่วยละ 2.20 บาท รับเป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี สำหรับพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 5 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 5 เมกะวัตต์ การส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าใช้เอง โดยการติดตั้งโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า และสามารถนำส่วนที่เหลือมาขายเข้าระบบได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้า ด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผันผวนและมีราคาสูง จากผลของภาวะวิกฤตการณ์ราคาพลังงานโลกที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ด้วย

solar rooftop 02

ซึ่งผู้เขียนก็ประสบปัญหากับราคาค่าไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านนับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอยู่ทำงานที่บ้านตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ พัดลม โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอื่นๆ ที่จำเป็น ทำให้ใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยต่อเดือน ช่วงอากาศร้อนๆ เคยพีคไปถึง 400 หน่วยมาแล้ว ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ทางการไฟฟ้าเรียกเก็บนั้นจะเป็นแบบขั้นบันได คือยิ่งใช้มากก็ยิ่งคิดราคาต่อหน่วยแพงขึ้นนั่นเอง เมื่อพิจารณาแล้วว่าคุ้มค่าก็เลยยื่นคำขอ และหาบรืษัทผู้รับเหมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อลดค่าไฟฟ้า ด้วยระบบขนาด 5 kW แบบออนกริด (ขนานกับระบบของการไฟฟ้า) [ รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมตามนี้ ]

rooftop diagram

หลังการติดตั้งใช้งานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 ก็ใช้งานเลยทันที (เฉพาะการใช้งานภายในบ้าน ยังไม่ปล่อยเข้าระบบของ กฟภ.) ช่วงนี้อยู่ระหว่างยื่นคำขอขายไฟฟ้าคืนต่อ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อทาง กกพ. มีมติเห็นชอบก็จะส่งคำขอที่ได้รับอนุญาตแล้วให้กับทางผู้จำหน่ายไฟฟ้า ในเขตที่ผู้ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งก็คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. - PEA) ทำการพิจารณาเข้าดำเนินการต่อไป (สำหรับผู้ขอที่อยู่ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล จะอยู่ในความรับผิดชอบของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. - MEA) เป็นผู้ดำเนินการต่อ)

ทาง กฟภ. อนุญาตให้ผู้เขียนขายไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 และให้เข้าไปทำสัญญาขายไฟฟ้าคืนที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 อุบลราชธานี ในวันที่ 13 ธันวาคม 2565 แล้วก็รอเรื่อยมาจนได้รับการติดต่อมาว่า ทีมวิศวกรจะเข้ามาตรวจสอบการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อครบถ้วนถูกต้องก็จะทำการเปลี่ยน มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า จากแบบอนาล็อก (จานหมุนเดิม) มาเป็นแบบดิจิตอล เพื่อวัดการซื้อ-ขายไฟฟ้าคืนได้ ดังภาพเปรียบเทียบข้างล่างนี้

meter digital

ปกติ รอบบิลค่าไฟฟ้าที่บ้านผู้เขียนจะเป็นวันที่ 17 ของทุกเดือน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการขออนุญาตขายไฟฟ้าคืน กฟภ. รอบบิลค่าไฟฟ้าจะเป็นวันที่ 1 ของทุกเดือนแทน โดยจะเริ่มครบกำหนดเดือนแรกในวันที่ 1 เมษายน 2566 (เดือนแรกจะมีจำนวนมากหน่อยเพราะเกิน 30 วัน) จึงจะทราบผลว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านครั้งนี้ จะช่วยเราลดค่าไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด จะคุ้มทุนเมื่อไหร่?

 graph exp 01

แต่จากการที่เริ่มปลดล็อค CT (อุปกรณ์กันย้อน) การจ่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. ในช่วงบ่ายวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 วันแรกยังไม่เห็นผลว่า ผลิตได้มากน้อยจนเหลือขาย เพราะวันนั้นมีเพื่อนๆ นัดมาทานข้าวพูดคุยกันตั้งแต่เที่ยงวันยันค่ำ เปิดเครื่องปรับอากศมากหน่อยไม่เห็นผลอะไรเลย ผลิตไม่พอใช้นั่นแหละ

graph exp 02

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ถือว่าเป็นวันแรกที่เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แล้วเริ่มส่งออกไปให้ กฟภ. ซึ่งตามกราฟจะเห็นว่า เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 06.30 - 17.00 น. เลยทีเดียว ผลิตได้ทั้งสิ้น 23.50 kWh ใช้ไปเพียง 2.41 kWh เพราะอากาศเย็นมีลมหนาว ส่งออกไปได้เพียง 21.09 kWh ก็เป็นไปตามทฤษฎีการผลิตไฟฟ้าโดยแสงแดดในประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะทางใต้และเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางบริเวณพื้นที่ในภาคกลาง ประมาณ 14.3% ของประเทศมีการรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 19-20 MJ/ตารางเมตร/วัน ในขณะที่ 50% ของประเทศได้รับประมาณ 18-19 MJ/ตารางเมตร/วัน ถ้าเป็นในแง่ของศักยภาพ ประเทศไทยยังล้าหลังกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา แต่นำหน้าประเทศญี่ปุ่นอยู่ "

solar thailand

ถ้าว่ากันตามทฤษฎีเกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แล้ว ในประเทศไทยจะให้แสงแดดเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้ดีอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมงต่อวัน (ค่าเฉลี่ยตามกราฟสีเขียว) จะได้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เท่ากับ จำนวนกิโลวัตต์ (kW) คูณด้วย จำนวนชั่วโมง (hr)

 graph exp 03

บ้านผู้เขียนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 5 kW ก็จะได้พลังงานเฉลี่ย 5*4.2=21 kWh (หน่วย) ถ้าวันไหนมีแสงแดดดี/มาก/น้อยต่างกัน ก็จะให้พลังงานไฟฟ้าลดหลั่นกันไป แต่เนื่องจากมีการสูญเสียพลังงานในระบบจากความร้อนและอื่นๆ ทำให้ดูกราฟที่ผลิตได้สูงสุดจริงๆ เพียงประมาณ 4.4 kW เท่านั้นเอง

graph exp 04

ผ่านไป 3 วัน จากการดูที่กราฟการผลิตแล้วนำมาเฉลี่ยจะได้ประมาณไม่เกิน 20 หน่วย/วัน ระยะเวลา 1 เดือนก็น่าจะได้ประมาณ 600 หน่วย ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยที่บ้านผู้เขียนใช้ไฟฟ้าสูงสุด จึงมีแนวโน้มว่า จะได้เงินค่าขายกระแสไฟฟ้าคืนให้ กฟภ. บ้างเล็กน้อย เพราะว่า เราขายได้แค่หน่วยละ 2.20 บาท แต่เราซื้อมาใช้นั้นตกหน่วยละ 4.00 บาท ทำให้การขายของเราไม่ได้มากมายอะไรนัก การลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เป็นเงินนับแสนบาทเศษ จึงเป็นการชำระค่ากระแสไฟฟ้าล่วงหน้าไปก่อน และน่าจะทยอยคืนทุนในระยะประมาณ 5 ปีครึ่ง รอตรวจสอบอีกสักระยะก่อน แล้วจะนำมาอัพเดทให้ทราบกันต่อไป

Update! 1# คำถามจากเพื่อนบ้าน

คืนที่ผ่านมา มีเพื่อนบ้านในหมู่บ้านที่ทราบข่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ กฟภ. มาตรวจเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้ ก็สงสัยว่า มีอะไรกันเหรอ? (ก็พี่มากัน 2 คันรถ 10 กว่าคน จนพี่ยามหมู่บ้านสงสัย) พอทราบว่า ที่บ้านติดโซลาร์เซลล์บนหลังเพื่อลดค่าไฟฟ้า และจำหน่ายส่วนเกินให้ทางการไฟฟ้า ก็เลยตามมาด้วยคำถามชุดใหญ่ว่า "การติดตั้ง Solar Rooftop คุ้มค่าจริงหรือ? ถ้าจริงเมื่อไหร่จะคืนทุน คิดอย่างไร?" ซึ่งตอบทันทีไม่ได้ รู้... แต่มันต้องมีตัวเลขชัดเจนหน่อย เลยกลับมาคิดคำนวณแยกแยะคำตอบ แล้วส่งไปให้ทางไลน์แล้ว เลยขอเอามาเล่าที่นี่ด้วย เพราะคุณผู้อ่านก็คงสงสัยเหมือนกันใช่ไหมล่ะ?

ค่าเริ่มต้นคือ ทำสัญญาขายไฟฟ้า 10 ปี จ่ายค่าติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ 5kW = 168,000 บาท"

  • การใช้ไฟฟ้าที่บ้านผู้เขียนในรอบปีที่ผ่านมา (2565) จ่ายมากสุดเดือนละ 3,709 บาท จ่ายน้อยสุด 478 บาท นำมาเฉลี่ยทั้งปีตกอยู่ที่เดือนละ 2,100 บาท
  • ปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางคืน (ไม่มีแสงแดด ระหว่างเวลา 17.00-07.00 น.) เปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้าแสงสว่าง เฉลี่ยต่อวันที่ 4 kWh หนึ่งเดือนจึงใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า (Grid) ไปเท่ากับ 30*4 = 120 kWh (หน่วย) อัตราค่าไฟฟ้า+ค่า ft ประมาณหน่วยละ 4.0 บาท ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 120*4 = 480 บาท
  • การผลิตไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ต่อวันสูงสุดเท่ากับขนาดที่ติดตั้ง คูณด้วยค่าปริมาณแสงแดดเฉลี่ยในประเทศไทย ที่ 4.2 ชั่วโมงต่อวัน จึงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เท่ากับ 5kW*4.2 hrs = 21 kWh (ที่แดดมากน้อยต่างกัน ฤดูฝนมีเมฆมากอาจจะน้อยไปนิด ฤดูหนาว-ร้อนก็จะมากหน่อย) เฉลี่ยต่อวันในหนึ่งเดือนจะได้ประมาณ วันละ 17kWh (หน่วย)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านใช้กลางวันมากสุด ครบเท่าที่มีทุกอย่างใช้งานจนเต็มพิกัด อยู่ที่ 7 kWh (หน่วย) เฉลี่ยต่อวันในหนึ่งเดือน วันละ 5 kWh (หน่วย) จึงได้พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับ กฟภ. ในหนึ่งเดือนประมาณ (17-5)*30 = 360 kWh (หน่วย)
    ขายไฟฟ้าคืนหน่วยละ 2.20 บาท คาดว่า จะมีรายรับต่อเดือนประมาณ 360*2.20 = 792 บาท
  • ในระยะเวลาหนึ่งเดือน จึงมีรายได้จากการขายไฟฟ้าคืน ประมาณเท่ากับ (ค่าขาย - ค่าซื้อเข้า) 792-480 = 312 บาท

จากการคำนวณง่ายๆ นี้ในระยะหนึ่งเดือนจึงสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ (ค่าไฟเฉลี่ย บวก ค่าขายไฟฟ้าคืน) 2,100+312 = 2,412 บาท ลงทุนค่าติดตั้งไปเป็นเงิน 168,000 บาท จะถึงจุดคุ้มทุนในเวลา 168,000 / 2,412 = 69.7 เดือน เท่ากับ 5 ปี 8 เดือน

ได้ใช้กระแสไฟฟ้าฟรีๆ ต่อไปอีก 4 ปี 4 เดือน จึงจะครบสัญญาที่ทำไว้ พร้อมรับเงินรายได้อีกเฉลี่ยเดือนละ 312 บาท อยู่นะ หลังครบสัญญา 10 ปีไปแล้ว จะยังไงต่อ? ไม่ทราบเหมือนกัน แล้วแต่นโยบายภาครัฐในภายภาคหน้า คุ้มไหม? คงเป็นคำตอบได้แล้วล่ะ👍👍👍🤗 (ตัวเลขที่เอามาคิดคำนวณในที่นี้ อิงตามการใช้งานจริงที่บ้านผู้เขียน นำมาหาค่าเฉลี่ยการใช้งานค่อนไปทางสูง ส่วนการผลิตค่อนไปทางต่ำแล้วนะครับ เพื่อให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด)

graph exp 05

กราฟสวยๆ วันที่แดดดีอากาศสบายๆ ใช้แค่พัดลม 2 ตัว (1 มีนาคม 2566)

บทความเหล่านี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านในการประหยัดค่ากระแสไฟฟ้า ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) เพื่อใช้งานทดแทน และจำหน่ายคืนให้ทางการไฟฟ้านะครับ เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจสอบระบบ และเปลี่ยนมิเตอร์ให้วันนั้น กฟภ. และ กฟน. ยังสามารถรองรับผู้ที่สนใจ สามารถยื่นขออนุญาตได้เพิ่มเติมอีกมากนะครับ รีบเลยครับ... อย่าช้า เดี๋ยวหมดโควต้าแล้วจะอดนะ (ขายคืนไม่ได้นะสิ)

redline

พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ | ติด Solar Rooftop 5kW | การประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ | ขายไฟฟ้าคืนให้ กฟภ.

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)