foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

Backup your Data Now!

ข้อมูล (Data) ของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ นับเป็นสิ่งมีค่าที่ต้องมีการจัดเก็บสำรองข้อมูล ป้องกันความเสียหายจากเหตุต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่น งานด้านเอกสารสำคัญไม่ว่าจะเป็น เอกสารการติดต่องาน งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ และอื่นๆ รวมทั้ง รูปภาพ คลิปวีดิโอ หรือซอฟท์แวร์ที่ใช้งานต่างๆ ไว้ในที่ปลอดภัย เรียกใช้ในภายหลังได้สะดวก ยิ่งเป็นยุคของการสื่อสารออนไลน์ โอกาสที่ข้อมูลสำคัญจะเสียหายจากการที่อุปกรณ์จัดเก็บเสียหาย โดนไวรัส หรือสปายแวร์ มัลแวร์ต่างๆ ทำลาย ก็มีมากยิ่งขึ้น

Cloud 01

ผู้เขียนเคยประสบปัญหาจากการจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเสียหายก็บ่อย ไม่ว่าจะเก็บใน External Hard Drive ที่พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่ก็เสี่ยงกับการกระทบกระแทกจนตัวเก็บอุปกรณ์เสียหายได้ หรือโดนกระแสไฟกระชาก ไฟฟ้าดับในระหว่างการทำการถ่ายโอนข้อมูล จนอุปกรณ์พังคามือก็หลายครั้ง เคยเก็บในแผ่น CD/DVD ที่คิดว่ามันเก็บได้นาน แต่พอผ่านระยะไปสัก 4-5 ปีเจอแผ่นลอกครับ (โดยเฉพาะกับแผ่นราคาถูกๆ) ข้อมูลสูญหายเกลี้ยง และปัจจุบันเครื่องอ่านแผ่นพวกนี้ก็ไม่ใช่อุปกรณ์มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกแล้ว ในปัจจุบันมีบริการก้อนเมฆ (Cloud) ของผู้ให้บริการมากมายในการฝากไฟล์ เช่น Dropbox, Google Drive, OneDrive และอื่นๆ อีกมากมาย ก็มีทั้งที่ให้ฟรีและต้องจ่ายเงินเพิ่ม หากข้อมูลของเรามีมากกว่าที่ให้ใช้ฟรีไว้ ซึ่งมีทั้งจ่ายรายเดือน/รายปี ตามกำลังทรัพย์ สามารถใช้งานได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา ก็นับว่าสะดวกมากกว่าแต่ก่อน

NAS ทางออกสำหรับยุคนี้

ก้อนเมฆ (Cloud) ดี แต่ก็ไม่ตอบโจทย์ผมอยู่ดี เพราะข้อมูลบางอย่างมันมีขนาดใหญ่ เป็นความลับ หรือเป็นสีเทาๆ ที่ผู้ให้บริการก้อนเมฆเขาไม่อนุญาตให้นำไปเก็บ จึงต้องมองหาอุปกรณ์อื่นๆ มาทดแทน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Center) เป็นทางเลือกที่ดี แต่ราคามันก็สูงเกินเอื้อมไปหน่อย (เราไม่ใช่บริษัทขนาดใหญ่มีธุรกิจร้อยล้าน พันล้าน ที่จะต้องลงทุนขนาดนั้น) การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท NAS (Network-Attached Storage) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ

NAS 01

Network-Attached Storage (NAS) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลรูปแบบใหม่ โดยผ่านทาง Network หรือ Internet เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กของที่บ้าน หรือองค์กร โดยที่ NAS ไม่ได้มีความสามารถในการประมวลผลพิเศษ แต่ว่า NAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้มากกว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากราคาของระบบที่ถูกกว่าการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ระบบ NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่าย โดยใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กสามารถตรวจสอบ และดูแล NAS ได้โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที

ซึ่ง NAS นั้น เปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอล เช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชัน เช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์ก สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที

NAS จะส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับ SAN (Storage Area Network) และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN / WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าไรก็จะใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้นนั่นเอง จึงไม่เหมาะที่จะไว้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูล ที่ลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง

NAS Cloud

นอกจากนั้นตัว NAS เองยังสามารถ Backup and Synchronize กับข้อมูลที่เก็บอยู่บนคลาวด์เจ้าดังต่างๆ ทำให้มีการสำรองข้อมูลให้ปลอดภัยเป็น 2 ชั้นได้อีกด้วย

รู้จักกับ NAS

  • NAS (Network Attached Storage) มีสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม
  • การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่าย LAN
  • NAS ประกอบด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย IP

โครงสร้างพื้นฐานของ NAS

  • NAS มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดย Client หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
  • NAS จะใช้ในการส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย
  • NAS ไม่เหมาะที่จะไว้ใช้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ

หลักการทำงานของ NAS

  • NAS (Network Attached Storage) มีสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม
  • มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเชื่อมต่อโดยตรงเข้าไปที่อุปกรณ์เครือข่าย
  • การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่ายแลน โดย LAN และ WAN
  • ตัว NAS จะติดตั้งโปรเซสเซอร์ไว้ภายใน เพื่อให้สามารถบริหารตัวมันเองได้ด้วย มีระบบปฏิบัติการของตนเอง และซอฟท์แวร์จัดการต่างๆ ที่นำมาติดตั้งเพิ่มในเครื่องไคลเอนต์ได้

ข้อดีของ NAS

  • ใช้งาน ติดตั้ง ดูแล ได้ง่ายมากๆ
  • NAS ขนาดเล็กสามารถใช้ภายในบ้านได้
  • ราคาถูกกว่าการเช่า Server ฝากไฟล์อื่นๆ
  • สามารถใช้งานผ่าน Smartphone หรือ Device อื่นๆที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ เพียงเข้าผ่าน Web browser

ข้อเสียของ NAS

  • ความสามารถของ NAS นั้นขึ้นอยู่ราคา ยิ่งแพง ความสามารถก็จะยิ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เช่น ขยายความจุได้มากขึ้น (จำนวน Hard Drive) ทำแบ็คอัพระบบ RAID ได้หลายแบบ เพิ่ม RAM หรือ SSD เพื่อทำ Caching ได้มากขึ้น

NAS 02

NAS มีให้เลือกใช้มากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป เลือกใช้งานได้ตามความชอบ งบประมาณที่มี และขนาดของปริมาณการจัดเก็บใช้งานของแต่ละคน สามารถขยายพื้นที่ปริมาณการจัดเก็บได้เท่าไหร่ มีซีพียู หน่วยความจำเพียงพอต่อความต้องการไหม ที่นิยมในบ้านเราก็มีหลายยี่ห้อ แต่ที่ถูกกล่าวถึงบ่อยๆ ก็มี QNAP และ Synology ที่ผมเลือกใช้คือ Synology เพราะมีอะไรหลายๆ อย่างตอบโจทย์ผมมากที่สุดครับ โดยเฉพาะซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดไปติดตั้งในอุปกรณ์พวกโมบายล์ของผม ซึ่งมีทั้ง Windows PC, Linux, MAC OS, iOS, Android เรียกว่ามี "ร้านค้า (Online App Store)" ให้บริการครบครันและครบรอบด้านด้วย และที่สำคัญอัพเดทเพื่อความปลอดภัยบ่อยดีมากๆ

 

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)