Easyhome 2010
IsanGate.net
Basic HTML Navigation Bar

 

Basic HTML Menu
Start here
References
10 Commands
Quick Launch
Programs & Tools
Get a basic
Free! Free!

 

 
ADS_250

 
ADS 250x250

 

ติดปีกให้เว็บไซต์

ครื่องเว็บเซอร์ฟเวอร์ก็ช้า ข้อมูลที่จะใส่เข้าไปในโฮมเพจก็เพียบ กลัวผู้ชมที่หลงเข้ามา จะหลับไปก่อนที่จะได้ชมเว็บเพจ สุดจ๊าบของเรา จะทำอย่างไรดี?

"จะไปยากอะไร" เพื่อนผู้ปรารถนาดีและเชี่ยวชาญฮาร์ดแวร์สะกิดบอก "ก็อัพเกรดที่เครื่อง เว็บเซอร์ฟเวอร์โดยเพิ่มหน่วยความจำเข้าไป เปลี่ยนสายส่งข้อมูลเป็น ISDN ซิ" พูดง่ายแต่ฟังยาก ครับ ก็ผมฝากเขาไว้ที่เมืองนอกโน่น ของฟรีด้วย จะไปยุ่งกะเขาได้อย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้ เว็บเพจเรามันเร็วขึ้นล่ะ?

ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ จริงไหมครับ เรามาดูกันว่าจะทำให้เต่าของเรากลายเป็น กระต่ายหรือพญาเหยี่ยวติดปีกได้อย่างไร? เรียกว่าถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ขอล่อเอาด้วยกล (วิธี) ก็แล้วกัน

ขั้นแรกเรามาดูกันที่องค์ประกอบของเว็บเพจเสียก่อนว่า สิ่งใดน่าจะเป็นตัวการถ่วงเวลา ในการโหลดมากที่สุดลดหลั่นกันลงไป แล้วค่อยหาวิธีแก้กันไปทีละเปลาะครับ

 
  1. ภาพประกอบอันสวยงามของเรา เงื่อนไขที่ทำให้โหลดได้ช้าคือขนาดของภาพ จำนวนสี ความละเอียดของภาพ จำนวนภาพที่มีในแต่ละหน้า
  2. ความยาวของเว็บเพจแต่ละหน้า ยิ่งยาวก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้น
  3. เปิด Tag ยาวเกินไป กว่าจะจบการทำงานในแต่ละ Tag ยาวมาก
  4. ใส่ Tag ผิด หาสิ่งที่อ้างไม่เจอ เช่น อ้างถึงภาพซึ่งไม่มีอยู่จริงในไซต์นั้น (อาจลืม Upload ไปไว้)
  5. Link ตาย หาจุดอ้างอิงไม่เจอ เสียเวลาเปล่าประโยชน์
  6. สุขสันต์ด้วยเสียงเพลง การทำให้โฮมเพจมีชีวิตชีวา แต่คนรอฟังจะขาดชีวาเอาดื้อ ๆ

ถึงเวลาที่จะจัดการกับสาเหตุเหล่านี้กันแล้วครับ จากหลักการที่ว่า ความเร็วในการใช้ แสดงผลเว็บเพจขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์แต่ละหน้า ( Text + รูปภาพ) ถ้าอยากให้แสดงผลได้เร็ว ผลรวมของไฟล์ไม่ควรเกิน 100-200 KB เอาล่ะครับเรามาแก้ปัญหาเรียงลำดับไปทีละข้อกันเลย

glow ลดขนาดรูปภาพให้เล็กลง (สวยคงเดิม)

ขนาดของรูป (เมื่อไม่คิดถึงวิธีการบีบอัดข้อมูล) ก็จะมีขนาดจากผลคูณของความกว้าง ความยาว และจำนวนสีของรูป จากสมการ

ขนาดที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปภาพ = กว้าง x ยาว x จำนวนสี

ขนาดกว้างยาวของรูปคือสิ่งที่เราต้องการกำหนดให้แน่นอนสำหรับเว็บเพจ ส่วนจำนวน สีขึ้นอยู่กับจำนวนบิต (bit) ของสีที่ใช้ในการจัดเก็บ ยิ่งจำนวนบิตมาก ขนาดของรูปก็จะมากตาม ดังแสดงในตาราง

จำนวนบิต จำนวนสี ขนาดไฟล์
24 bits16.7 million900 KB
8 bits256 196 KB
7 bits128 162 KB
6 bits64 128 KB
5 bits32 102 KB
4 bits16 77 KB
3 bits8 60 KB
2 bits4 44 KB
1 bit2 26 KB

คุณจะเห็นได้ว่า วิธีลดขนาดรูปที่ง่าย ๆ ก็คือลดจำนวนสีลง คุณภาพของรูปจะลดไป ไม่มากนัก มีคำถามว่าจะลดไปเหลือกี่สี พิจารณากันได้ง่าย ๆ ครับ ถ้าเป็นรูปกราฟิกง่าย ๆ ที่ทั้ง รูปมีสีแค่ 3-4 สี ก็อาจจะลดลงจนเหลือแค่ 3 บิตหรือ 8 สีก็ยังได้ แต่ถ้าเป็นรูปถ่ายของคน ทิวทัศน์ งานเทศกาล ฯลฯ ไม่ควรจะลดลงต่ำกว่า 8 บิต หรือ 256 สี ไม่เช่นนั้นจะทำให้รูปหมดสวยไปเลย ก็ได้ ให้ทดลองดูครับ

การจัดเก็บไฟล์ด้วยฟอร์แมตที่แตกต่างกัน ก็จะได้ขนาดไฟล์ที่แตกต่างกัน ในเว็บเพจปัจจุบัน เรานิยมใช้กันอยู่ 3 ฟอร์แมต คือ GIF, JPG และ PNG ซึ่งจะมีการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าเราใช้ โปรแกรมช่วยบีบอัดลงอีกก็จะได้ขนาดเล็กลงไปอีก เช่น โปรแกรม Ulead Smart Saver Pro, JpegOptimizer หรือ GifClean เป็นต้น สำหรับท่านที่นิยมใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งรูปภาพ ผมแนะนำให้อัพเกรดขึ้นเป็นเวอร์ชั่น 5.5 หรือสูงกว่า เพื่อจะได้ใช้คุณสมบัติของการบีบอัดภาพใช้ในเว็บเพจแบบเต็มร้อย รวมทั้งสนับสนุนการบีบอัดภาพในฟอร์แมต PNG ด้วย ดูรายละเอียดแนะนำโปรแกรมได้ที่หัวข้อ Reviews Programs

ส่วนใหญ่เราจะใช้แค่ 3 ฟอร์แมตนี้เท่านั้น ถ้าคุณสังเกตสักนิดว่า ไฟล์ที่มีขนาดเท่ากัน ไฟล์ GIF จะแสดงผลได้เร็วกว่าเพราะการคลายไฟล์ออกมาแสดงผลผ่านบราวเซอร์ทำได้เร็วกว่า ไฟล์ JPEG (ซึ่งมีกระบวนการบีบอัดที่ซับซ้อนกว่า) ดังนั้นถ้าไม่ใช่ไฟล์รูปภาพที่มีสีจำนวนมากแล้ว ให้จัดเก็บเป็นไฟล์ GIF จะดีที่สุดสำหรับ โฮมเพจของคุณ แม้ว่าขนาดไฟล์จะโตกว่าไฟล์ JPEG ก็ตาม (รายละเอียดของภาพ (resolution) ไม่ควรเกิน 72 dpi

สำหรับไฟล์ฟอร์แมต PNG เป็นการนำเอาคุณสมบัติที่ดีเด่นของไฟล์แบบ GIF + JPG มารวมกัน นั่นคือสนับสนุนสีได้มากกว่า 256 สีแบบ JPG แต่เทคโนโลยีการบีบอัดภาพให้ขนาดเล็กลงใช้แบบ GIF มีการแสดงผลแบบ Interlace และแน่นอนสามารถทำภาพแบบโปร่งใสได้ด้วย ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบคือ PNG-8, PNG-24 ต่างกันที่จำนวนบิตสีที่จัดเก็บ ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ ในเว็บไซต์ของผมนี่ภาพที่แสดงผลในช่วงหลังๆ ก็มีแบบ PNG มากขึ้นแล้ว

glow จำกัดขนาดไฟล์ให้เหมาะสม

พยายามจำกัดขนาดของไฟล์ให้พอเหมาะ โดยเฉพาะในเรื่องความยาวในแต่ละหน้า ถ้ามีหลายหัวข้อและแต่ละหัวข้อก็มีข้อความยาว และภาพประกอบอีกมากมาย คุณก็ควรจะแบ่ง ซอยให้แต่ละหัวข้อไปอยู่กันคนละหน้า โดยมีหน้าแรกเป็นตัวเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ตัวอย่าง ดังเช่นในหัวข้อ "Basic HTML" นี้ผมแบ่งย่อยออกเป็นหลายหน้าตามหัวข้อย่อย บางหัวข้อย่อยก็ยังซอยออกเป็นหลายหน้าอีก โดยให้หน้าที่ 1 (ไฟล์ basichtml.htm) เป็นหน้าหลักของชุด แล้วเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ในทุกๆ หน้าสามารถย้อนกลับมาที่หน้าที่ 1 ได้เสมอ

glow ปิด Tag บ่อย ๆ อย่าปล่อยไว้ห่างเกินไป

การปล่อยทิ้งให้มีการเปิด Tag ยาว ๆ ก็จะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้การแสดงผลของเว็บเพจช้า โดยเฉพาะ Tag ตาราง ที่บรรจุข้อความยาว ๆ จะมีปัญหามากที่สุด เพราะบราวเซอร์ จะโหลดข้อมูลเรียงลำดับบรรทัด จนกว่าจะสิ้นสุดถึง Tag ปิดจึงจะแสดงผล ซึ่งต้องใช้เวลานาน กว่าปกติ คุณอาจจะต้องใช้เทคนิคแยกเป็นตารางย่อยหลาย ๆ ตารางต่อกันแทน เพื่อไม่ให้คน ใจร้อนคลิกหนีไปไซต์อื่น สำหรับ Tag ของรูปภาพในตารางจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะระยะ Tag จะสั้นนั่นเอง

glow กำหนด Tag ผิด หรืออ้างผิดชื่อ

ส่วนใหญ่จะเป็นการอ้างถึงพวกไฟล์รูปภาพภายในไซต์ แล้วอ้างอิงผิดทำให้โหลดภาพ ไม่ได้ ซึ่งเป็นได้หลายกรณีเช่น ใส่ชื่อไฟล์ผิด (ตัวอักษรตัวเล็ก/ใหญ่ไม่ถูกต้อง) ปัญหานี้จะไม่เกิด ขึ้นในเครื่องของผู้เขียนที่ใช้โปรแกรมใน Windows แต่เมื่อนำไปฝากไว้ในเซอร์ฟเวอร์ที่เป็น UNIX จะเกิดปัญหาทันที เพราะในโฮสต์ที่เป็นยูนิกซ์นั้น การใช้ตัวอักษรตัวเล็ก/ใหญ่ จะมีความหมายที่ แตกต่างกัน เช่น Picture.jpg ต่างจาก picture.jpg หรือ picture.JPG ต่างจาก picture.jpg ดังนั้น บราวเซอร์จึงไม่สามารถแสดงผลได้ อีกกรณีหนึ่งคือ การเก็บไฟล์ในโฟลเดอร์ เมื่ออ้างถึงไฟล์จะมีความแตกต่างจากใน Windows คือ ในวินโดว์ปกติจะใช้รูปแบบเป็น images\picture.jpg หรืออาจใช้ images/picture.jpg ก็แสดงผลได้ถูกต้อง แต่ในยูนิกซ์ใช้ได้เฉพาะตัวหลังเท่านั้น

glow Link ตาย หาไฟล์ไม่เจอ

ถ้าคุณคลิก Link แล้วเกิด Error โดยบราวเซอร์แจ้งว่า 404 Not found นั่นแสดงว่า ไม่มี เพจที่อ้างถึง แสดงว่าคุณเขียน URL ของลิงค์นั้นผิดตรงไหนสักที่หนึ่ง หรือถ้าเป็นไซต์อื่นเขาอาจ จะย้ายไปที่ URL อื่นแล้วก็ได้ ทำให้ผู้ชมเกิดอาการหัวเสียพอ ๆ กับคลิก เข้าไปแล้วพบแต่ภาพของ รถแทรกเตอร์ หรือคนขุดดินไม่มีสิ้นสุด พร้อมกับคำว่า Under Construction ทำให้คนที่หลงเข้าไป ได้รับความรู้ใหม่ว่า เพจนี้ยังสร้างไม่เสร็จ (หรืออาจจะยังไม่เริ่มสร้างด้วยซ้ำ) คุณควรหลีกเลี่ยง การทำจุดเชื่อมโยงลักษณะนี้ ถ้ายังไม่เสร็จก็อย่าพึ่งสร้างลิงค์เข้าไปดีกว่า

glow เสียงเพลงสร้างความสุขสันต์ หรือทำลายฝัน

การใส่เสียงเพลงเป็นแบคกราวด์ประกอบอาจจะเป็นฝันร้ายของผู้เข้าชมก็ได้ โดยเฉพาะ เว็บเพจที่มีสีสันและรูปภาพมากมายเป็นพิเศษ จะยิ่งทวีความช้าเป็นเท่าทวีคูณ ถ้าคุณอยากใส่ เสียงเพลงจริง ๆ ก็น่าจะใส่โดยการสร้าง Console ควบคุมให้ผู้ชมคลิก เปิดฟังเอง ไม่ให้เล่นโดยอัตโนมัติ

Top

 

red line
Home | What's new? | Basic HTML | Reviews Programs | Tip&Tricks | Download | Site Map
red line

 

Home Basic HTML Review Software More Tip & Tricks Download Software Site Map