foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

bad pqssword 2019

รหัสผ่าน หรือ Password คือสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้งานอุปกรณ์ไอที ที่ควรจะมีความปลอดภัยสูงสุด รู้เฉพาะตน ไม่สามารถเดาได้โดยง่ายจากสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เรื่องนี้พูดกันมานับทศวรรษแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ไม่รู้จบอยู่ดี มันยังคงเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้คนโดนล้วงความลับเอารหัสผ่านไปกระทำการต่างๆ จนเกิดความเสียหายต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือต่อองค์กรได้ เพราะอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในโลกไซเบอร์ยุคความเร็วระดับ Gigabits นี่รุนแรงมากนะครับ เป้าหมายของผู้ไม่หวังดีทั้งหลายไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นใคร โดนกันได้หมด หน่วยงานด้านบัญชี การเงิน ธนาคาร บริษัทข้ามชาติระดับโลก นั่นคือเป้าหมายใหญ่ แต่การโจมตีก็ไม่ง่ายแล้วเพราะการเตรียมป้องกันที่แข็งแกร่ง ต่อมาก็หันม่าโจมตีหน่วยงานรัฐบาล, หน่วยงานท้องถิ่น ที่การป้องกันไม่ค่อยดีนัก (คงคิว่าไม่มีอะไรสำคัญ) ถ้าเมืองไทยนี่ต้องบอกว่า "หละหลวมมาก" เลยละ ข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลนี่แหละสำคัญ เพราะมีทั้งหมายเลขประจำตัวประชาชน (ID Card) หมายเลขปรจำตัวผู้เสียภาษี รายได้ ทรัพย์สิน หลักประกันสุขภาพ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอื่นๆ ที่หากถูกฉกออกไปได้ก็สามารถนำไปหาทางเจาะทำมิดีมิร้ายได้อีกเยอะทีเดียว

bad password 1

มัยปัจจุบันอุปกรณ์ที่เรียกว่า Mobile Device ก็พวกมือถือ แท็ปเล็ต ทั้งหลายนี่แหละ สามารถนำมาใช้ทำธุรกรรมด้านการเงินกับธนาคาร การติดต่อซื้อสินค้ากันทางออนไลน์ บัญชีการลงทุน การทำประกันต่างๆ มันมีและทำได้กันบนเครื่องมือเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีรหัสผ่านที่มั่นคง เรารู้เพียงผู้เดียวและต้องจำให้ได้ด้วย ถ้ามันรั่วออกไปด้วยความสะเพร่า พลั้งเผลอ หรือวิธีใดๆ ก็แล้วแต่ ผู้เป็นเจ้าของอาจสูญเสียทรัพย์สินไปมากกว่าราคาเครื่องโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นได้นะ มันจึงเป็นความสำคัญที่เราต้องมีการตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา แต่เราต้องจำกันให้ได้ มาเสนอกันวันนี้

ในทุกๆ ปีก็จะมีรายงานของ "รหัสผ่านยอดแย่" หรือ "Worst passwords" ออกมาให้ทราบทุกปี ซึ่งมันก็ไม่หนีไปจากเดิมนักหรอก เปลี่ยนไปนิดๆ หน่อยๆ ตามที่ถูกบังคับให้เพิ่มจำนวน หรือรูปแบบตัวอักษรที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามแต่หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ กำหนด Policy ไว้มากน้อยเพียงใดนั่นเอง

SplashData ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการรหัสผ่านชื่อดัง ได้ออกมาเปิดเผยถึง 25 รหัสผ่านยอดนิยม หรืออาจเรียกว่าเป็น "รหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 2019" นี้ ซึ่งอันดับหนึ่งยังคงเป็น “123456” ตามมาด้วย “123456789” (ซึ่งเป็นเพราะหลายหน่วยงานให้ตั้งมากกว่า 8 ตัวอักษรเลยเพิ่มเป็น 9 ตัวเสียเลย) ในขณะที่ “password” ตกอันดับจากที่ 2 ไปเป็นอันดับที่ 4 แล้ว

SplashData ได้รวบรวมข้อมูลรหัสผ่านกว่า 5,000,000 รายการที่หลุดออกมาสู่โลกอินเทอร์เน็ตในปี 2019 (ยกเว้นจากเว็บวับๆ แวมๆ หรือเทาๆ) แล้วทำการจัดอันดับรหัสผ่านที่ได้รับความนิยมสูงสุด 100 อันดับแรก ซึ่งเรียกได้ว่า "ถ้าใครใช้รหัสผ่านซ้ำกับ 100 อันดับนี้มีโอกาสเสี่ยงถูกแฮ็กได้อย่างง่ายดาย" โดยในปีนี้ รหัสผ่านที่นิยม แต่แย่ที่สุดยังคงเป็น “123456” ส่วน “password” ที่ครองที่ 2 มานานกว่า 5 ปีในที่สุดก็ตกไปอยู่อันดับที่ 4 โดยมี “123456789” และ “qwerty” แซงขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 และ 3 แทน

bad pqssword 02

สำหรับรหัสผ่านที่น่าสนใจที่ปรากฏเข้ามาใหม่ คือ “1q2w3e4r” และ “qwertyuiop” ซึ่งแบบแรกยังคงเป็นการกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับ แต่ทำเป็นขั้นบันไดแทน ในขณะที่แบบหลังเป็นการเพิ่มความยาวของรหัสผ่านให้ยาวยิ่งขึ้น ตามที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างรณรงค์ให้ทำกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของรหัสผ่านยอดแย่อันดับที่ 2 “123456789” ที่มีความยาวถึง 9 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนรูปแบบการเรียงลำดับการกดแป้นพิมพ์ หรือเพิ่มความยาวแบบเรียงต่อจากเดิมดื้อๆ นั้น ยังไม่เพียงพอต่อการรับมือกับแฮ็กเกอร์ได้

SplashData คาดการณ์ว่า อย่างน้อย 10% ของผู้ใช้ทั่วโลกมีการใช้รหัสผ่าน 1 ใน 25 รหัสผ่านเหล่านี้ ในขณะที่ประมาณ 3% ใช้รหัสผ่านที่แย่ที่สุดอย่าง “123456” มาดูตารางเปรียบเทียบรหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 2019 และ 2018 กันดีกว่าครับ

Rank25 Worst Password 201925 Worst Password 2018
1. 123456 123456
2. 123456789 password
3. qwerty 123456789
4. password 12345678
5. 1234567 12345
6. 12345678 111111
7. 12345 1234567
8. iloveyou sunshine
9. 111111 qwerty
10. 123123 iloveyou
11. abc123 princess
12. qwerty123 admin
13. 1q2w3e4r welcome
14. admin 666666
15. qwertyuiop abc123
16. 654321 football
17. 555555 123123
18. lovely monkey
19. 7777777 654321
20. welcome !@#$%^&*
21. 888888 charlie
22. princess aa123456
23. dragon donald
24. password1 password1
25. 123qwe qwerty123

ที่มา : https://www.helpnetsecurity.com/2019/12/18/worst-passwords-of-2019/

วันนี้ขอคุยเรื่องการตั้งรหัสผ่านกันหน่อยครับว่าควรตั้งอย่างไรดี? เพราะคำว่า "เดายาก แต่จำง่าย" นี่มันสวนทางกันพิกลอยู่นะครับ โดยหลักๆ แล้วการกำหนดวิธีการตั้งรหัสผ่านก็จะเป็นดังภาพล่างนี่แหละ

bad pqssword 03

ซึ่งข้อกำหนดที่สำคัญคือ อย่างน้อย 8 ตัวอักษร (มากกว่าได้เท่าที่จะจำได้นั่นแหละ) 8 ตัวที่ว่านี่คือ อักขระ นะครับ นั่นหมายถึง เป็นตัวอักษร (ตัวเลข ตัวใหญ่ ในภาษาอังกฤษ) และตัวเลขผสมกัน เช่น ที่เคยใช้ password ซึ่งมี 8 ตัวอักษร ถ้าจะเพิ่มความยากก็ใช้เป็น PassWord หรือ pAsswOrd อย่างนี้ก็ได้ แต่มันก็ยังง่ายอยู่ดี เติมตัวเลขให้มันอีกนิดหนึ่งซิ เป็น pAss1wOrd ก็จะยากขึ้นเป็นต้น แต่มันก็จะยังถูกเดาได้อยู่นะ เพราะ password มันยอดนิยมอยู่ไงครับ ควรใช้คำอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงชื่อตัวเอง ชื่อแฟน ชื่อกิ๊ก ชื่อสัตว์เลี้ยงตัวโปรด วัน/เดือน/ปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ เพราะถ้าเขารู้ก็โดนด้วยการพยายามเดาจนได้แหละครับ

ในกรณีที่เรามีหลายบัญชีใช้งาน เช่น อีเมล์หลายชื่อ บัญชีธนาคารหลายบัญชี ก็ตั้งให้แตกต่างกันออกไปอย่าซ้ำกัน เพราะการตั้งให้ซ้ำกันถ้าเขาเดาตัวหนึ่งได้ถูกต้อง แน่นอนว่าเขาไล่เจาะบัญชีของเราได้ทุกตัว ทั้งอีเมล์ บัญชีธนาคาร Facebook, Line แย่แน่ๆ ครับ

"การตั้งให้เดายากแต่จำง่าย" ของผมใช้วิธีการตั้งรหัสผ่านเป็นภาษาไทย บนแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษครับ เช่น d^w,j[vd,7' (โทษทีไม่ค่อยสุภาพ = กูไม่บอกมึง) ปัญหานี้จะไม่มีอะไรถ้าคุณใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีหรือโน้ตบุ๊ค เพราะมองเห็นตัวอักษรภาษาไทยบนแป้นพิมพ์อยู่ แต่พอไปใช้กับพวกโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเล็ต พอเปลี่ยนแป้นมันจะไม่เห็นอักษรไทย คุณอาจจะลำบากในการพิมพ์รหัสผ่าน หนทางเดียวคือต้องท่องจำมัน หรือบันทึกไว้สักที่ หรือหาคำที่มันจะพิมพ์ได้ง่ายๆ หน่อย เป็นคำอุทาน หรือวรรคทองที่ชอบก็ได้ครับ ลองเอาไปปรับใช้ดู

เห็นเขามี Application ช่วยแปลงรหัสผ่านภาษาไทยเป็นอังกฤษ ในระบบ iOS ใช้กับ iPhone, iPad อยู่นะ ลองเอาไปใช้งานดูผมมีแต่มือถือ Android เลยลองให้ไม่ได้แล้ว ตามรูปนี้คลิกที่รูปไปอ่านรายละเอียดเองครับ

PassThai 3 horz

เคล็ดลับความปลอดภัย

SplashData เสนอ 3 เคล็ดลับง่ายๆ และอีก 2 ข้อของผู้เขียน ในการออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง :

  • ใช้ข้อความรหัสผ่าน ที่มีอักขระ 12 ตัวขึ้นไป พร้อมกับการผสมตัวอักษรหลายประเภททั้งตัวเลขตัวใหญ่ ตัวเลขลงไป
  • ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับการเข้าสู่ระบบของคุณแต่ละครั้ง (อีเมล์ Facebook, Line, Banking Account, Member Website) ด้วยวิธีนี้หากแฮ็กเกอร์เข้าถึงรหัสผ่านของคุณได้หนึ่งรหัส พวกเขาจะไม่สามารถใช้เพื่อเข้าถึงแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์อื่นๆ ได้
  • ปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ โดยใช้ตัวจัดการรหัสผ่านเพื่อจัดระเบียบรหัสผ่าน สร้างรหัสผ่านแบบสุ่มที่ปลอดภัย และเข้าสู่เว็บไซต์โดยอัตโนมัติ
  • ระมัดระวังในการนำเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ที่ชำรุด บกพร่องไปซ่อมตามร้านค้าทั่วไป ที่อาจไม่ปลอดภัยจากการคัดลอก ถ่ายโอนข้อมูล จากเครื่องเราไปได้ (เป็นช่องทางที่น่ากลัวที่สุดครับ) เป็นข่าวออกบ่อยครับ ทั้งคลิปลับส่วนตัวแชร์ว่อนในอินเทอร์เน็ต โดนแฮ็คเฟซบุ๊ก ไลน์ไปยืมเงินคนอื่น หรือแอบโอนเงินจากบัญชีธนาคารเราไปแบบง่ายๆ
  • ใช้งาน Facebook, Line ควรกำหนดรหัสผ่าน/อีเมล์เองเมื่อ ซื้อโทรศัพท์ใหม่ หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่จะได้ติดตั้งค่า ย้ายข้อมูลมาเครื่องใหม่ได้โดยง่าย ควรจดบันทึกไว้เป็นการส่วนตัว ไม่ควรให้ร้านค้า/พนักงานขายตั้งให้ เสี่ยงต่อการโดนแฮ็คเอาไปใช้ประโยชน์ได้นะ (ระวังกันหน่อย นิสัยกับหน้าตาอาจไม่สอดคล้องกัน) ไม่ใช่เปลี่ยนเครื่องใหม่ที เปลี่ยนเบอร์โทรที ก็สมัคร Facebook, Line ใหม่มาแอดเป็นเพื่อนเขาใหม่ทุกที เลยไม่รู้จริงหรือปลอม และอาจโดนแอบอ้างเอาไปทำมิดีมิร้ายได้ง่าย บรรดา สว (ผู้สูงวัย) ควรระวังให้มากนะ เดี๋ยวจะว่าไม่เตือน

 

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)