foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

cms header

Joomla! เป็นระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่เรียกกันว่า CMS (Content Management System) และเป็นที่นิยมนำมาใช้กันมากมาย ในการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ขนาดใหญ่/กลาง/เล็ก ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เว็บไซต์ส่วนตัว และเว็บไซต์ด้านการค้าขาย (e-Commerce) จำนวนมาก ด้วยมีเทมเพลตที่สวยงามให้ใช้งานมากมาย ทั้งในแบบใช้กันฟรีๆ และจ่ายเงินอีกนิดหน่อยเพื่อจะได้ความเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวจากผู้พัฒนา และยังมีปลั๊กอิน คอมโพเนนท์ที่ช่วยให้เว็บมีลูกเล่นที่หลากหลาย สะดุดตา อำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้เป็นเจ้าของเว็บ และผู้ชมทั่วไปให้เลือกใช้งานได้อย่างง่ายดาย ซึ่งตัวระบบถูกพัฒนาและปรับปรุงให้มีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน (ขณะเขียน/ปรับปรุงบทความ) พัฒนามาถึง Joomla! 3.9.24 แล้ว (01-03-2021)

joomla header

เหมือนกับการติดตั้ง Wordpress ที่แนะนำไปแล้วคือ เราต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ชุดติดตั้ง (ซึ่งมีการปรับปรุงเวอร์ชั่นใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน) มาจากทีมพัฒนามาเสียก่อน ที่เว็บไซต์ www.joomla.org เลือกเอาเวอร์ชั่นล่าสุดมาใช้งานกันเลย

joomla cms 01

ไปที่หน้าดาวน์โหลดจะมีไฟล์ให้เลือกหลายแบบ ทั้งที่เป็นสกุล *.tar.gz, *.tar.bz2, *.zip ตามการนำไปใช้ติดตั้งบนแพลตฟอร์มลีนุกซ์ และ วินโดว์ ในที่นี่เราทดสอบการติดตั้งบนเครื่องจำลองที่เป็นวินโดว์จึงดาวน์โหลดไฟล์ Joomla_3.9.9-Stable-Full_Package.zip ตามรูปข้างล่างนี้มาใช้งาน

joomla cms 02

อย่างไรก็ตาม เราควรจะดูที่ความต้องการระบบสำหรับการติดตั้งที่เหมาะสมด้วยว่า สนับสนุนกับระบบแม่ข่ายจำลอง (Xampp, Mamp, Appserv) ที่เราเลือกมาทดสอบด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้การทำงานได้ผลตามที่ผู้พัฒนาระบุ ทั้งในด้านเสถียรภาพและความปลอดภัยในการใช้งานจริง สำหรับ Joomla! เวอร์ชั่น 3.9.x ต้องการทรัพยากรระบบดังนี้

joomla cms 03

จะเห็นว่า Appserv 8.60 ที่เราใช้นั้นมีความเข้ากันได้ ไม่มีปัญหา เมื่อได้ไฟล์มาแล้วเราก็ทำการแตกไฟล์ *.zip นี้ไปไว้ในโฟลเดอร์ www ของเครื่องแม่ข่ายจำลองในโฟลเดอร์ชื่อ D:\Appserv\www\joomla เพื่อทำการติดตั้งในขั้นตอนต่อไป

joomla cms 04

ทำการเปิดไฟล์ Joomla_3.90-Stable-Full_Package.zip ด้วยโปรแกรม WinRar (หรือโปรแกรมอื่นที่ท่านถนัดใช้) คลิกที่ปุ่ม Extract To.. เลือกโฟลเดอร์เป็น D:\Appserv\www\joomla ดังภาพ รอจนโปรแกรมแตกไฟล์เสร็จสิ้นจะได้ไฟล์ดังภาพล่างนี้

joomla cms 05

ต่อไปก็ไปจัดการกับฐานข้อมูลเพื่อใช้กับ Joomla! กันก่อน ลืมหรือยัง? (กลับไปอ่าน Appserv ก่อนได้) เปิดบราวเซอร์ขึ้นมา แล้วพิมพ์ที่ช่องแอดเดรสบาร์ localhost/phpMyAdmin จะเจอหน้านี้คงจะไม่ลืมรหัสผ่านนะ

joomla cms 06

ถ้าไม่ลืมก็ใส่ Username เป็น root และรหัสผ่าน 8 ตัวตามที่ได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง แล้วคลิกปุ่ม Go โลด...

joomla cms 07

ให้คลิกที่แท็ป User account เลือกสร้าง New account กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้งานในกรอบแดงตามที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้ใช้ชื่อบัญชีว่า joomla ช่อง Hostname ใช้ localhost แล้วใส่รหัสผ่านตามต้องการ (เหมือนกันทั้ง 2 ช่อง) ตรงกรอบสีเขียวคลิกใน Checkbox หน้าคำว่า Create database with same name and grant all privillages เพื่อให้ phpMyAdmin สร้างฐานข้อมูลเป็นชื่อเดียวกับบัญชีผู้ใช้ ในกรอบสีน้ำเงินคลิกเลือกในกล่องหน้าข้อความ Check all ด้วย เลื่อนลงไปข้างล่างคลิกปุ่ม Go เพื่อสร้างบัญชีใช้งานพร้อมฐานข้อมูล

joomla cms 08

บัญชีผู้ใช้งานชื่อ joomla พร้อมฐานข้อมูลชื่อ joomla ถูกสร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วดังภาพ มาถึงตรงนี้เราก็พร้อมสำหรับการติดตั้งแล้วล่ะ เปิดบราวเซอร์มาอีกแท็ปพร้อมพิมพ์ที่ช่องแอดเดรสบาร์ว่า localhost/joomla กดปุ่ม Enter ได้เลย

joomla cms 09

เข้าสู่หน้าการติดตั้งไม่ยากเพราะ Joomla เขามีหน้าติดตั้งภาษาไทยมาให้แล้ว (จริงๆ มีหลายภาษาให้เลือกนะ) เริ่มที่การตั้งค่าเบื้องต้นกันเลย ชื่อเว็บไซต์ที่คุณต้องการ ตัวอย่างนี้ใช้ Demo for Joomla! คำอธิบายของเว็บ ใส่ข้อความหรือประโยคที่สื่อถึงเว็บไซต์ของเรา อีเมล์ของคุณ ก็ใส่อีเมล์ของเรา (ผู้ดูแลระบบนั่นเอง) ชื่อเข้าระบบของผู้ดูแล ก็ใส่ตามชอบจะเป็นชื่อเราเอง ฉายาเก๋ๆ ของเราก็ได้ ในที่นี้ใช้ Webmaster รหัสผ่านผู้ดูแลใส่ทั้ง 2 ช่องให้เหมือนกัน แล้วคลิกปุ่ม "ต่อไป" (จำชื่อบัญชี/รหัสผ่านผู้ดูแลไว้ให้ดีนะครับ)

joomla cms 10

ขั้นตอนที่ 2 ใส่ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูลตามที่กำหนดไว้ใน phpMyAdmin เลยครับ ชื่อโฮสเป็น localhost ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล joomla รหัสผ่านที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง ชื่อฐานข้อมูล joomla (หรือชื่อตามที่คุณตั้งไว้) คำนำหน้าตาราง ปกติตัวติดตั้งจะกำหนดให้อัตโนมัติ แต่เราก็กำหนดเองได้ตามต้องการ แต่อย่าลืมใส่เครื่องหมาย "_" ต่อท้ายชื่อเสมอนะครับ จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม "ต่อไป" ได้เลย

joomla cms 11

หน้านี้มีให้เลือกการติดตั้งข้อมูลตัวอย่าง (ในกรอบสีแดง) แนะนำให้เลือกข้อมูลตัวอย่างเอาไว้ศึกษา (เมื่อชำนาญแล้วลบทิ้งส่วนนี้ได้) เมื่อเลือกแล้วคลิกที่ปุ่ม "ติดตั้ง" กันได้เลย

joomla cms 12

นั่งรอไปสิครับ เป็นการสร้างตารางในฐานข้อมูล ติดตั้งข้อมูลตัวอย่าง ฯลฯ ความเร็วในการติดตั้งขึ้นอยู่กับการเลือกข้อมูลตัวอย่าง ความเร็วในการทำงานของเครื่องแม่ข่าย (Server) โดยประมาณก็ 3-5 นาที เมื่อเสร็จสิ้นก็จะพบกับหน้าสรุปการติดตั้งในภาพล่าง

joomla cms 13

สำเร็จแล้วครับ แต่ยังก่อน... ตัวติดตั้งจะแนะนำว่า ให้ลบโฟลเดอร์ชื่อ installation ทิ้งเพื่อความปลอดภัย แต่ผมแนะนำให้เปลี่ยนชื่อก็เพียงพอแล้ว เผื่ออยากติดตั้งซ้ำอีกครั้งก็แค่เปลี่ยนชื่กลับมาเหมือนเดิม ลบข้อมูลฐานข้อมูลเดิมทิ้ง แล้วติดตั้งใหม่ได้อีกครั้งง่ายๆ (เรานักทดลองอาจมีการผิดพลาด อยากลองใหม่) หากเป็นการติดตั้งบนโฮสท์จริงแนะนำให้ลบทิ้งนะครับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

joomla cms 14

จากนั้นก็สามารถเข้าดูหน้าเว็บไซต์ของเราได้แล้วที่ localhost/joomla ดังภาพข้างล่างนี้ จะมีข้อมูลตัวอย่างต่างๆ ให้เราศึกษาทั้งในส่วนการแสดงผลของเมนู การจัดวางเนื้อหาต่างๆ บทความที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขข้อความเป็นภาษาไทย ปรับให้เป็นตัวหนา ตัวเอียง เปลี่ยนสีสันได้ด้วย

joomla cms 15

ถ้าไปดูที่หน้าต่างจัดการ phpMyAdmin ก็จะพบตารางฐานข้อมูลภายใน ฐานข้อมูลชื่อ joomla ดังภาพด้านล่างนี้ ซึ่งเราสามารถเข้าถึงและจัดการสำรองข้อมูล ทำการกู้คืนข้อมูลได้ (จะได้อธิบายถึงอีกครั้งในบทความต่อๆ ไป)

joomla cms 16

เรามาลองดูส่วนจัดการเบื้องหลังของระบบ (หน้า admin) กันหน่อย ด้วยการเลื่อนหน้าลงไปหาคำว่า Site Administrator หรือจะพิมพ์คำว่า administrator ต่อจาก localhost/joomla/administrator ก็ได้ จะพบกับหน้าต่าง Log in เข้าสู่ระบบดังภาพ

joomla cms 17

ใส่ชื่อบัญชีผู้จัดการระบบเป็น Webmaster (หรือตามที่ได้กำหนดไว้) พร้อมรหัสผ่าน คลิกปุ่ม Log in เข้าสู่ระบบ ก็จะพบหน้าต่างนี้ ซึ่งอาจมีคำเตือนหลายอย่างตามแต่ระบบตรวจพบและรายงานออกมา ซึ่งเราสามารถทำการแก้ไข/ปรับปรุงได้

joomla cms 18

แถวบนสุดเป็นการแจ้งเตือนว่า พบมีการอัพเดทเวอร์ชั่นของ Joomla 3.9.8 ล่าสุดเพื่อความปลอดภัยของระบบ ควรอัพเดททันที Update Now คลิกเลย (ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลระบบให้หลายๆ ไซต์พบว่า ไม่ค่อยสนใจคำเตือนเหล่านี้ ไม่อัพเดทตามคำแนะนำ สุดท้ายก็มีช่องโหว่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีได้) แนะนำให้อัพเดทตามคำแนะนำของระบบทุกครั้ง

joomla cms 19

เราสามารถติดตั้งการอัพเดทแบบออนไลน์ได้ทันที ด้วยการคลิกที่ปุ่ม Install the Update ได้เลย

joomla cms 20

รอสักครู่ จะมีการดาวน์โฆลดไฟล์มาจากเว็บไซต์ของผู้พัฒนา ทำการแตกไฟล์ออกและเขียนทับลงในระบบจนกระทั่งครบ 100% เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

joomla cms 21

หลังการอัพเดทจะมีไฟล์ขยะในโฟลเดอร์ Temp และ Cache จำนวนหนึ่ง ควรลบออกจากระบบเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานให้เว็บไซต์ของเรา ด้วยการไปจัดการที่เมนู Extension > Manage > Update เลือก Clear Cache ทุกครั้งหลังมีการอัพเดท หรือใช้งานเว็บไซต์ไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง (อาจจะทำเดือนละครั้งก็ได้)

joomla cms 22

จากนั้นเรามาดูที่คำเตือนที่ 2 ซึ่งมีสีแดง (ดูอันตรายทีเดียว) จริงๆ แล้วเป็นการแจ้งเตือนว่า PHP Version 5.6.30 ใน Appserv ที่ใช้นั้นไม่รองรับ Joomla 3.9.x และไม่มีความปลอดภัย ควรปรับใช้ PHP Version 7.1 ซึ่งเราสามารถทำได้ใน Appserv 8.60 แล้ว ง่ายๆ เลย

joomla cms 23

ไปที่เมนูโปรแกรมในวินโดว์ ดูที่ Appserv เลื่อนหา PHP Version Switch เพื่อทำการเปลี่ยนเวอร์ชั่น PHP จากเวอร์ชั่น 5.6.30 มาเป็น 7.1

joomla cms 24

จะพบหน้าต่าง PHP Version Switch ทำการเปลี่ยนด้วยการพิมพ์ตัวเลข 7 ลงหลังข้อความ Select choice : 7 กดปุ่ม Enter รอสักครู่ก็สำเร็จ กลับไปรีเฟรชที่หน้าบราวเซอร์ คำเตือน Error สีแดงจะหายไป

joomla cms 25

หน้าต่างเว็บไซต์ในส่วน Administration ที่มีคำเตือน Error จะหายไปแล้ว เหลือแต่กรอบแสดงข้อความรายละเอียดการปรับปรุงระบบ Joomla! ที่ผ่านมา จะปล่อยไว้ก็ได้ หรือจะไม่ให้แสดงผลก็ได้ ด้วยการคลิกเข้าไปที่ปุ่ม Read Messages เพื่อจัดการการแสดงผลต่อไป

joomla cms 26

เราสามารถซ่อนรายละเอียดการแจ้งเตือนนี้ได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม Hide all messages เท่านั้นเอง

joomla cms 27

การแสดงผลข้อความการปรับปรุงเวอร์ชั่นต่างๆ ก็จะไม่แสดงผลอีกต่อไป

joomla cms 28

การจัดการเนื้อหาเพิ่มเติม การสร้างเมนู การเปลี่ยนเทมเพลตหรือปรับปรุงหน้าตาต่างๆ เราสามารถจัดการผ่านหน้าต่าง Administrator นี้ได้ ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป โปรดติดตาม...

joomla cms 29

การจัดการบริหารไซต์ ตอนที่ 1arrow b

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)