Easyhome 2010
Ads 468x60
Review Programs Navigation Bar
Home Basic HTML Review Software More Tip & Tricks Download Software Site Map


 
 
ADS 250x250
 
ADS 125

USB Webserver

มีหลายครั้งที่อยากจะทำเว็บไซต์ที่เป็นแบบ Dynamic ด้วยการใช้ระบจัดการเว็บไซต์ที่เรียกกันว่า CMS แต่ติดขัดที่เว็บเหล่านี้จะต้องเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล ซึ่งต้องการใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์จำลองที่สามารถทำงานร่วมกันของ php, MySQL แน่นอนว่า เราจำเป็นที่จะต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ลงไปบนเครื่องเพื่อให้สามารถทำงานได้ อาจจะด้วยการใช้ IIS ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ หรือเอาซอฟท์แวร์เสริมอย่าง Appserv, Xampp ลงไปในเครื่อง แล้วถ้าเราไม่ได้ทำงานบนเครื่องเราเอง จะมีวิธีการไหนที่ใช้เครื่องคนอื่นที่ไม่มีโปรแกรมเหล่านี้ได้บ้าง

บัดนี้ มีพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาช่วยเราตรงกับความต้องการพอดีเลย USB Server คือพระเอกที่ว่านี้ ซอฟท์แวร์จำลองที่สามารถติดตั้ง (เอ.. ไม่ได้ติดตั้งแฮะ แค่ก็อบปี้ลงไปไว้เฉยๆ) ใน USB Drive ทั่วๆ ไปที่ราคาถูกมากๆ และสะดวกพกพาไปได้ทุกที่ เจอเครื่องไหนแค่จิ้ม ดับเบิ้ลคลิกก็ทำงานได้เลย สนใจแล้วล่ะซิ.... ดาวน์โหลดได้จากหน้าดาวน์โหลด หัวข้อ Webpage ได้เลย จากนั้นก็จัดการแตกไฟล์ลงไปใน USB Drive ที่ว่างๆ สักตัว (เนื้อที่สัก 1GB ขึ้นไป) ก็จะพบกับเซิร์ฟเวอร์เคลื่อนที่ดังภาพ

USB Server Drive

จากภาพ ที่วงกลมสีแดงนั่นคือพระเอกของเราเป็นไฟล์ ชื่อ USB Webserver.exe ต้องระวังอย่าให้โปรแกรมตรวจไวรัสจากแฮนดี้ไดรว์ทั้งหลายลบทิ้งเสียละ ทำไม? ก็เพราะการทำงานของมันจะเข้าข่ายไวรัสเพราะเข้าไปติดตั้ง Service ต่างๆ ในระบบขณะทำงานนั่นเอง

ส่วนโฟลเดอร์อื่นๆ ก็จะเป็นไฟล์โปรแกรมเช่น Apache, PHP, MySQL, phpMyAdmin อย่าไปย่งกับมันมากนัก (ถ้าคุณไม่ชำนาญ เดี๋ยวระบบจะทำงานไม่ได้) โฟลเดอร์ที่คุณต้องเข้าไปยุ่งคงมีเฉพาะโฟลเดอร์ Root เพราะจะเป็นที่เก็บไฟล์เว็บไซต์ของเรานั่นเอง เหมือน htdocs, www, var/www/html ในเซิร์ฟเวอร์จริงๆ

เริ่มใช้งานด้วยการคลิกที่ไฟล์ USB Webserver.exe เลยจะพบกับหน้าต่างของโปรแกรมดังภาพนี้

USB Server Config

อันดับแรกเราคลิกที่ Settings ก่อนเพื่อการตั้งค่าบางอย่าง ในกรอบสีแดงที่วงไว้นั้น ในแท็ป Default ให้เลือก Hide at start คือซ่อนหน้าต่างนี้ไปที่ Task bar เสีย ไม่งั้นมันจะเกะกะขวางหน้าจอ หาที่ย่อลงไปไม่เจอ ถ้าไปคลิก Close มันจะปิดโปรแกรมไปเลย (แย่จัง!) ส่วนข้อที่สอง Open localhost at start, in default browser จะเลือกหรือไม่เลือกก็แล้วแต่คุณนะ คลิกแท็ปต่อไป

USB Server Config

แท็ป Smtp ในภาพมันถูก Disable ไว้เพราะไปชนกับ IIS ในเครื่องผมที่พอร์ตเดียวกัน ไม่ต้องไปแก้อะไรก็ได้ เพราะไม่ได้ใช้งานส่งอีเมล์แต่อย่างใด ถ้าเอา USB Drive ไปเสียบเครื่องที่ไม่ได้ทำเว็บเซิร์ฟเวอร์จำลองด้วย IIS, Appserv, Xampp ก็จะทำงานได้ปกติ ผ่านไปแท็ป Apache เลย

USB Server Config

ที่แท็ป Apache จะกำหนดให้ใช้งานที่พอร์ต 8080 เพื่อหลีกเลี่ยงกับการนำไปเสียบเครื่องที่เขาลงเว็บเซิร์ฟเวอร์จำลอง (ส่วนใหญ่จะถูกจองพอร์ต 80 ไว้แล้ว) จะได้ทำงานได้ไม่มีปัญหา ตรงช่อง Error type เป็นการกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์แสดงข้อผิดพลาด ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงอะไรบ้าง ไม่อยากคิดมากก็ให้แสดงทั้งหมดเลย ไม่ต้องไปแก้อะไร

USB Server Config

ที่แท็ป MySQL ตัวนี้สำคัญ จะเห็นว่าใช้พอร์ต 3307 ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนนะครับ เดี๋ยวจะไปชนกับเครื่องที่เขาติดตั้ง MySQL ไว้ เราใช้ตัวนี้แหละ ให้จำรหัสผ่านนี้ไว้ หรือจะเปลี่ยนไปใช้รหัสที่คุณจำง่ายๆ ก็ได้ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Save เป็นอันเสร็จสิ้น

USB Server Config

การใช้งานเราสามารถคลิกที่ปุ่มในวงกลมสีแดงเพื่อเลือกการทำงานได้เลย เช่น เราจะทดสอบดูหน้าตา Localhost ของเราก็คลิกเลือกดังในภาพ

USB Server Config

ในกรณีที่โปรแกรมถูกย่อลงไปที่ Task bar สามารถเรียกใช้ได้เช่นกันดังภาพซ้ายมือ จะเห็นว่ามีรูปไอค่อนวงกลมสีเขียวผ่าครึ่ง ฝั่งซ้ายเป็นสีเข้มฝั่งขวาเป็นสีอ่อน ให้คลิกเมาส์ขวา จะมีเมนูยื่นขึ้นมาให้เราเลือกว่าจะทำอะไรได้บ้าง

Settings การตั้งค่าดังที่ผ่านมา Logs ดูบันทึกการใช้งาน Localhost ดูเว็บหน้าแรก Root directory เปิดโฟลเดอร์ Root ส่วน Phpmyadmin เอาไว้จัดการฐานข้อมูล และล่างสุด Close ปิดโปรแกรมเลิกทำงาน

ในตัวอย่างเราเลือกที่ Localhost เพื่อไปดูหน้าหลักของเซิร์ฟเวอร์เคลื่อนที่ของเรา ว่ามีหน้าตาเป็นเช่นไร? จะได้ยลโฉมดังภาพข้างล่างเลย ไม่มีอะไรมาก

USB Server Config

มีลิงก์ให้คลิกทางด้านซ้าย 3 ลิงก์ ลิงก์แรกบนสุดก็หน้า Localhost นี้แหละ ไม่ไปไหน ลิงก์ที่สอง PhpMyAdmin สำหรับการจัดการฐานข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์เคลื่อนที่นี้ ลิงก์ที่สามจะเป็นการรายงานระบบว่าในเซิร์ฟเวอร์เคลื่อนที่สนับสนุนอะไรบ้าง คือเรียก phpmyinfo นั่นเอง ส่วนอีกลิงก์หนึ่งด้านล่างคือลิงก์ไปเว็บไซต์ของผู้พัฒนา ตั้งอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็สามารถไปเยี่ยมชมกันได้ เผื่อเขาออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะได้อัพเกรดกัน

USB Server Config

ในตัวอย่างเป็นการคลิกที่ PhpMyAdmin จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ทำการล็อกอิน จำได้ไหมในการตั้งค่าการทำงานของ MySQL ผู้ใช้งานคือ root ถ้าไม่ได้เปลี่ยนรหัสผ่านก็จะเป็น usbw แต่ถ้าคุณเปลี่ยนก็ใช้ตามที่ได้เปลี่ยนไป แล้วคลิก OK ได้เลย

USB Server Config

ถ้าถูกต้องก็จะพบกับหน้าตาของระบบจัดการฐานข้อมูล phpMyAdmin ดังภาพ ในเวอร์ชั่นนี้มีเฉพาะภาษาดัช อังกฤษ และเยอรมันเท่านั้น ไม่มีภาษาไทย คิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ นานๆ ใช้ที ก็ลองสร้างฐานข้อมูลได้เลย ความรู้เหล่านี้คงต้องไปหาอ่านเพิ่มเติมเอาเองนะครับ เดี๋ยวเรื่องมันยาว

USB Server Config

ส่วนรูปสุดท้ายนี่ผมทดสอบการติดตั้งบล็อกด้วย WordPress ก็ง่ายดายไม่มีปัญหา ใครจะใช้ติดตั้ง Mambo, Joomla, Postnuke หรืออื่นๆ ก็ทดสอบกันดูนะครับ ใช้งานได้ดีทีเดียว

ง่ายดายไหมครับ โปรแกรมตัวนี้ผ่านการทดสอบและใช้งานแล้ว เยี่ยมจริงๆ! Easyhome in Thailand : Approve อีกแล้วครับท่าน อยากทดลองใช้งานบ้างใช่ไหมล่ะ คลิกไปหาที่หน้าดาวน์โหลดเลยนะจ๊ะ

 

Ads 728x90

 

red line
Home | What's new? | Basic HTML | Reviews Programs | Tip&Tricks | Download | Site Map
red line