foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

how2charge

“รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ในเมืองไทยกำลังมาแรงจะแซงรถน้ำมันในอีกไม่กี่ปีแล้ว หลังจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่รุนแรงในประเทศไทย ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ทำให้หลายคนหันมาสนใจรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันราคารถยนต์ไฟฟ้าได้รับการสนับสนุนผ่านนโยบายภาครัฐ ทำให้สามารถช็อปคันใหม่ทดแทนกันได้ง่ายมากขึ้น มีงบระดับห้าแสนไปจนถึงล้านต้นๆ ก็สามารถซื้อหามาใช้งานได้แล้ว..

ev sponser gov

สำหรับใครที่กำลังเล็งจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กันอยู่ เราต้องเตรียมระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้รองรับการชาร์จรถไฟฟ้าได้ด้วย เพราะนี่คือ จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานสามารถมีปั๊มเติมพลังได้เองในบ้าน ให้พร้อมใช้งานในทุกๆ วัน ในขณะที่นอนพักผ่อนเสียบชาร์จรถไว้ค้างคืน ตื่นมาก็มีพลังงานใช้ได้เลย สำหรับการเดินทางไกลค่อยไปเติมพลังงานในที่ชาร์จสาธารณะ ซึ่งหากใครกำลังงงๆ กับข้อมูลที่อ่านมา วันนี้ จะนำเสนอเนื้อหาเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายๆ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน คุ้มหรือไม่? ไปดูกันเลย

เครื่องชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ (EV Charger)

1. Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้า AC ไปเป็นไฟฟ้า DC ส่งเข้าไปในแบตเตอรี่ ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์

ac dc charger 01

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยุ่ที่ 8 ชั่วโมง (รถยนต์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในไทยปัจจุบัน จะมี On Board Charger อยู่ที่ 6, 11 และ 22 kW ซึ่งจะทำให้การชาร์จใช้เวลาน้อยลงได้)

ac dc charger 02

2. Quick Charge จะเป็นการชาร์จไฟฟ้าโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ AC ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์

ac dc charger 03

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24kWh โดยใช้ตู้ EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50kW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง

สำหรับหัวชาร์จ (SOCKET) ที่ใช้กันในทั่วโลกนั้นมีมากมายหลายแบบ แยกตามชนิดของกระแสไฟฟ้า AC/DC และแยกตามประเทศของผู้ผลิตรถยนต์ ดังแสดงในภาพข้างล่างนี้

socket type

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาจำหน่ายในประเทศไทยจะต้องทำตามมาตรฐานที่รัฐบาล โดย สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดไว้ว่า ให้ใช้หัวชาร์จมาตรฐาน AC แบบ 62196-2 หรือคนไทยมักเรียกสั้นๆ ว่า แบบ Type 2 และหัวชาร์จมาตรฐาน DC แบบ 62196-3 หรือเรียกสั้นๆว่า แบบ CCS-2 (แต่จะยกเว้นเฉพาะรถยนต์นำเข้ามาก่อนที่ทางรัฐบาลกำหนด เช่น Nissan Leaf จะใช้หัวชาร์จแบบ CHAdeMO) แต่ในรุ่นที่นำเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทุกยี่ห้อจะต้องใช้หัวชาร์จแบบ CCS-2 ทั้งหมด รวมทั้งยี่ห้อดังอย่าง Tesla ที่ในอเมริกาจะมีหัวชา์จมาตรฐานของตนเอง ก็ต้องเปลี่ยนเป็น CCS-2 ตามมาตรฐานไทยด้วย

socket type 2

หัวชาร์จแบบ CHAdeMO อาจจะหายากสักหน่อยในสถานีชาร์จ DC ต่างจังหวัด (ผู้ใช้งานอาจต้องเตรียมหัวแปลงไปด้วย)

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านพัก

จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้า คือ ผู้ใช้งานสามารถมีปั๊มเติมพลังงานได้เองในบ้าน ให้พร้อมใช้งานในรุ่งเช้าของทุกๆ วัน ใครวางแผนเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าอาจมีข้อสงสัยว่าหากจะติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบไฟฟ้าของบ้านจากระบบไฟ 1 เฟสให้เป็นไฟ 3 เฟสหรือไม่?

socket type 3

คำถามยอดฮิตนี้มีคำตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า EV Charger ก็เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งของบ้าน แต่... เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้าน เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบติดตั้งบนผนัง (Wall mounted EV Charger) โดยทั่วไปจะใช้กระแสไฟสูงถึง 32A หรือมากกว่า ดังนั้น ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ มิเตอร์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน ว่ามีขนาดที่เพียงพอต่อการรองรับโหลดไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นนี้หรือไม่

กรณีบ้านพักอาศัยทั่วไป โดยปกติแล้วระบบไฟฟ้ามักจะเป็นไฟ 1 เฟส ที่ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5(15) A (น้อยมากๆ ไม่พอแน่ๆ แม้กับเครื่องปรับอากาศเครื่องเดียวก็แย่แล้ว) หรือ 15(45) A ซึ่งขนาดโหลดไฟฟ้ารวมของบ้านหลังจากติดตั้ง EV Charger แล้วมักจะมีขนาดกระแสสูงเกินกว่าขนาดโหลดไฟฟ้าสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้าเดิม จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้สูงขึ้น โดยขนาดมิเตอร์ที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่ติดตั้ง EV Charger คือมิเตอร์ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ขนาด 30(100) A หรือระบบไฟฟ้า 3 เฟส ขนาด 15(45) A เป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเห็นว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเปลี่ยนมิเตอร์และระบบไฟฟ้าของบ้านเป็นไฟ 3 เฟส แต่อาจต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟสให้เป็นขนาดที่สูงขึ้น

ev charger line

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลือกขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสม จำเป็นต้องพิจารณาโหลดไฟฟ้ารวมของบ้านหลังจากติดตั้ง EV Charger ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ EV Charger และจำนวนของ EV Charger ที่จะติดตั้งด้วย ในบางกรณี เช่น

มีการวางแผนเผื่อสำหรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 1 คัน โดยการติดตั้ง EV Charger มากกว่า 1 ชุดเพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลายคันพร้อมกัน มิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส ขนาด 30(100) A ก็อาจไม่เพียงพอ และอาจต้องเปลี่ยนมิเตอร์และระบบไฟฟ้าของบ้านเป็นไฟ 3 เฟสที่จ่ายกระแสได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ควรให้วิศวกรหรือช่างไฟฟ้าทำการประเมินโหลดและระบบไฟฟ้าของบ้านก่อนดำเนินการ เพราะหากติดตั้ง EV Charger โดยไม่ได้พิจารณาระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน อาจก่อให้เกิดการใช้ไฟเกิน (Overload) และเกิดปัญหาเบรกเกอร์ตัด หรืออาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟเกินได้

นอกจากมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว อีกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ การเดินระบบไฟฟ้า ตั้งแต่มิเตอร์ไฟฟ้ามายังตู้ควบคุมไฟฟ้า และต่อไปยังจุดติดตั้ง EV Charger ซึ่งต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดมิเตอร์และโหลดไฟฟ้ารวมที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

โดยปกติแล้วการเดินระบบไฟฟ้ารูปแบบมาตรฐาน จะมีสายเมน 1 วงจร เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าของบ้าน และมีเมนเบรกเกอร์ 1 ตัว ควบคุมวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน โดยมีเบรกเกอร์พร้อมทั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) สำหรับวงจรย่อยของ EVCharger

เจ้าของบ้านจะต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน ให้เหมาะสมกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า และโหลดไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก EV Charger ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนขนาดสายเมน สายต่อหลักดิน เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยเซอร์กิตเบรกเกอร์และตู้ควบคุมไฟฟ้าให้ใหญ่ขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงแก้ไขระบบไฟฟ้าเดิม ใหม่อาจมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง การไฟฟ้าฯ จึงอนุญาตให้ใช้การเดินระบบไฟฟ้ารูปแบบทางเลือกสำหรับการติดตั้ง EV Charger เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า สำหรับบ้านสร้างใหม่ สามารถออกแบบระบบไฟฟ้าให้รองรับ EV Charger ได้ตั้งแต่แรก โดยใช้ระบบไฟฟ้ารูปแบบมาตรฐานตามปกติ (มาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง กฟน. (MEA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟภ. (PEA) นั้นต่างกันดังในภาพ)

meter ev charger 01

การเดินระบบไฟฟ้ารูปแบบทางเลือก เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในการติดตั้ง EV Charger กับบ้านพักอาศัยเดิม โดยอนุโลมให้เดินสายเมนวงจรที่ 2 สำหรับจ่ายไฟให้ EV Charger โดยเฉพาะแยกต่างหาก มีเมนเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) สำหรับ EV Charger และไม่ต้องแก้ไขวงจรไฟฟ้าเดิมที่จ่ายไฟสำหรับโหลดอื่นๆของบ้าน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าได้มาก ซึ่งรูปแบบทางเลือกจะขึ้นอยู่กับพื้นที่การไฟฟ้าฯ ดังนี้

รูปแบบทางเลือกของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีลักษณะ มิเตอร์ไฟฟ้า 1 ลูก และสายเมน 2 วงจร กฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช่ไฟฟ้าเดิม โดยการติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้ โดยจะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม ทั้งนี้กำลังไฟในการใช้งานรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์รองรับ

meter ev charger 02

รูปแบบทางเลือกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีลักษณะใช้ มิเตอร์ไฟฟ้า 2 ลูกแยกวงจรกัน และสายเมน 2 วงจร กฟภ. อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยการเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้ง EV Charger โดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรก ปกตินิยมขอใช้ มิเตอร์แบบ TOU (Time of Use) สำหรับการใช้กับ EV Charger เพราะอัตราค่าไฟในช่วง Off Peak จะมีราคาถูกกว่าในการชาร์จไฟฟ้าช่วงกลางคืน มีขั้นตอนการขออนุญาตใช้มิเตอร์แบบ TOU ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มาฝากครับ

pea meter ev

รถยนต์ไฟฟ้าคืออนาคต | การเลือกรถไฟฟ้าสักคัน | การเตรียมที่ชาร์จในบ้าน

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)