foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

windows update 01

สำหรับผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ มักจะได้รับการแจ้งเตือนอยู่เสมอๆ ว่า จะมีการอัพเดทระบบปฏิบัติการอยู่บ่อยครั้ง อาจจะถี่แทบจะรายสัปดาห์หรือรายวันเลยก็มี อีกทั้งในการอัพเดทในบางครั้งก็เป็นการทำงานในเบื้องหลังเมื่อมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ ขณะที่ผู้ใช้งานกำลังทำงานสำคัญๆ ค้างอยู่ ยังไม่ได้บันทึกงานที่ทำตัวเครื่องดันทำการรีสตาร์ทโดยไม่บอกกล่าว การงานเสียหายกันไปหมด ในบางหน่วยงาน บริษัทใหญ่ๆ ผู้ดูแลระบบ (แผนกไอที) ถึงกับหาวิธีการหยุดการอัพเดทไว้เลย จะทำการอัพเดทตามรอบในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงานเป็นต้น จึงเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยว่า "เราจำเป็นที่จะต้องทำการอัพเดททุกครั้งที่ระบบแจ้งเตือนไหม ข้ามไปบ้างได้ไหม? หรือเมื่อไรที่เราจะต้องทำการอัพเดทเครื่องสักที"

ในความเป็นจริง เมื่อมี Windows Update ปล่อยออกมาในแต่ละครั้ง มันมีการอัปเดทอยู่หลายประเภท ซึ่งบางประเภทอัปเดทก็ดี ไม่อัปเดทตามก็ได้ รอไว้คราวหน้า แต่ก็มีอัปเดทที่ผู้ใช้ควรอัปเดทตามในทันทีด้วยเช่นกัน เช่น การปิดช่องโหว่อันตรายของระบบปฏิบัติการที่มีโอกาสจะโดนเจาะระบบ เราควรจะทำความเข้าใจกันว่า อัพเดทที่ไมโครซอฟท์ปล่อยออกมาแต่ละครั้งนั้นมีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร เราควรอัพเดทกันทันทีไหม มาดูกัน

windows update 02

1. Patch มันคืออะไรหรือ?

Patch เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุดโค้ดคำสั่งที่ทาง Microsoft ได้เพิ่มลงใน Windows เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ หรือความปลอดภัยในระบบ แต่ในบางครั้ง Patch จะนำฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ มาให้ใช้ด้วย

windows update 03

ทุกครั้งที่มีการอัปเดต ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงโค้ดของระบบปฏิบัติการ Windows เสมอ เราสามารถกล่าวได้ว่า ทุกครั้งที่มี Windows Update มันก็คือการ Patch นั่นเอง แต่เป้าหมายในการ Patch มีอยู่หลายอย่าง ทำให้มีคำเรียกอื่นๆ ย่อยลงไปอีกอยู่หลายคำดังเช่นในหัวข้อถัดไป

2. Hotfix ต่างจาก Patch ไหม?

หลังจากที่มีการปล่อย Patch ออกมาให้ผู้ใช้งานติดตั้งแล้ว หากผู้ใช้งานได้พบข้อบกพร่องร้ายแรงและแนะนำข้อบกพร่องนั้นให้ทราบ แล้ว Microsoft จะออก Patch เพื่อแก้ไขปัญหาด่วนที่เรียกว่า "Hotfix" ออกมา ดังนั้น หากผู้ใช้งานสังเกตเห็นว่า Windows ทำงานผิดปกติหลังจากได้แพตช์โปรแกรมไปแล้ว ก็จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขด่วน (Hotfix) ที่เกี่ยวข้องมาแก้ปัญหาดังกรณีเมื่อไม่นานมานี้ที่เกี่ยวกับการแชร์เครื่องพิมพ์ไม่ได้

windows update 04

3. Critical Update คืออะไรกัน?

Critical Update ความหมายคือ การปรับปรุงที่สำคัญ ซึ่งก็เป็น Patch ที่ปล่อยออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานเป็นวงกว้างโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตาม Critical Update จะไม่ใช่ Patch ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความปลอดภัย (Securities) ของผู้ใช้ ถึงกระนั้น ทาง Microsoft ก็แนะนำว่าผู้ใช้ทุกคนควรรีบอัปเดตตัว Critical Update ในทันทีที่มันถูกปล่อยออกมาอย่าละเลย

4. Feature Update อะไรอีกล่ะ?

Feature Update คือ การอัปเดทคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ โดยพื้นฐานแล้ว จะเป็นการอัปเดทให้กับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุดที่คุณกำลังใช้งานอยู่ มันจะเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ และอุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยให้มีรูรั่วน้อยลงนั่นเอง

windows update 05

โดยทาง Microsoft จะปล่อย Feature Update นี้ออกมา 2 ครั้งต่อปี (ในช่วงเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม) โดยเมื่อปล่อยออกมาแล้ว Microsoft จะให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows เวอร์ชันดังกล่าวต่อไปอีก 18 เดือน และ Windows เวอร์ชันก่อนหน้าก็จะยุติการสนับสนุน (ไม่แก้ไขอะไรให้อีก) ผู้ใช้จึงควรอัปเดทเมื่อมี Feature Update ถูกปล่อยออกมาเสมอนะจ๊ะ สำหรับคนที่ใช้ Windows 11 ตอนนี้ก็มีอัพถึง 21H2 ต่อไปก็รอตัว เมษายน 2022 กันต่อไป

5. Cumulative Update คืออีหยังอีกน้อ?

Cumulative Update ก็คือ การอัพเดทสะสม หมายถึงเป็นการอัปเดทที่รวบรวม Patch หลายๆ ชนิด ทั้ง Hotfix, Critical Update และ Non-Critical Update ทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อผู้ใช้ทำการอัปเดทแพทช์ Cumulative Update มันจะช่วยให้ระบบปฏิบัติการได้รับการอัปเดทข้อมูลที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายครั้งเป็นเวอร์ชันล่าสุดในคราวเดียว โดยเฉพาะท่านผู้ใช้งานที่มักจะข้ามการอัพเดทบางตัวไปในคราวที่ผ่านมา ก็จัดการเสียในคราวเดียวกันเลย

windows update 06

6. Service pack คืออะไร?

Service pack จะเป็นเหมือนกับ Cumulative Update ที่รวมเอา Patch หลายประเภทเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งในคลิกเดียว และทาง Microsoft ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ และคุณสมบัติการทำงานของตัวระบบปฏิบัติการ Windows ตามกระแสตอบรับของผู้ใช้งานเข้ามาด้วย เช่น การปรับเปลี่ยน UI การเพิ่มไอค่อนใหม่ๆ ที่สวยงาม หรือการปรับหน้าตาของหน้าต่างโปรแกรมการใช้งานบางตัวให้มีสีสันสวยงามน่าใช้ เป็นต้น

windows update 07

สำหรับผู้ใช้งาน Windows XP หรือ Windows 7 จะคุ้นเคยดีกับการอัพเดท Service pack เพราะทั้งสองระบบปฏิบัติการมีอายุการใช้งานเป็นที่นิยมอย่างยาวนาน มีการออกเจ้า Service pack นี่หลายครั้งมาก

7. Security Update ที่ไม่ควรมองข้าม

Security Update คือ การอัพเดทเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย เป็น Patch ที่ทาง Microsoft ปล่อยออกมาเพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่มีรายงานถูกค้นพบ โดยจะมีการระบุระดับความรุนแรงของ Security Update เอาไว้ด้วยว่า เป็นช่องโหว่ที่อันตรายมากน้อยขนาดไหน แต่ไม่ว่าจะเป็นช่องโหว่ระดับไหนก็ตาม Security Update เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ควรหมั่นอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะถูกแฮกเกอร์โจมตีผ่านช่องโหว่ที่ถูกค้นพบแล้ว ยิ่งในสมัยที่โลกถูกเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ยิ่งมีอันตรายมากมายรอคุณอยู่

windows update 08

8. Feature Pack คืออะไร?

Feature Pack จะเหมือนกับ Cumulative Update ซึ่งมันรวมเอา Patch ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คาดว่าจะถูกใส่เข้าไปมาในระบบปฏิบัติการ Windows ในเวอร์ชันถัดไปด้วย

9. Update Rollup อะไรอีกนะ

ตัวนี้นานๆ ทีจะมาให้เห็น มันก็คือ การถอยกลับจากการอัพเดทของ Patch ก่อนหน้านั่นเอง เพื่อแก้ไขหรืออัปเดทเฉพาะส่วนต่างๆ ของ Windows ที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น Microsoft ได้แก้ปัญของ Spooler เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายไม่ได้ มองไม่เห็น แต่พอแก้ไปแล้วดันไปมีผลกระทบกับเครื่องพิมพ์บางรุ่น บางยี่ห้อที่ต่อตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ ทำให้ใช้งานไม่ได้ตามไปดวย จึงต้องออกตัว Update Rollup ออกมาแก้ปัญหานี้

รวมทั้ง Microsoft สามารถปล่อย Update Rollup ออกมาเพื่อ Patch ช่องโหว่ในการทำงานของ Windows security, Windows Media Services หรือ SharePoint เป็นต้น

10. Windows Upgrade ตัวนี้สำคัญหลายคนเฝ้ารอ

การ Upgrade นั้นแตกต่างจากการอัปเดทตามปกติ โดยการ Upgrade จะใช้ในการเปลี่ยนแปลงของระบบปฏิบัติการจากเวอร์ชันหนึ่ง ไปสู่อีกเวอร์ชันหนึ่งที่สูงกว่าเลย เช่น เปลี่ยนจากระบบปฏิบัติการ Windows 10 ไปเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่ผ่านมาจะเรียกว่า การ Upgrade

windows update 09

ในขณะที่การเปลี่ยนจาก Windows 10 เวอร์ชัน 1809 ไปเป็น Windows 10 เวอร์ชัน 21H2 จะเรียกว่า การ Update เท่านั้นเพราะยังคงเป็นระบบปฏิบัติการชื่อเวอร์เดิม

คงพอที่จะให้ความกระจ่างกับทุกท่านได้บ้างนะครับว่า สมควรจะทำการอัพเดทตามที่ระบบแจ้งเตือนไหม ตัวไหนสำคัญควรที่จะทำทันที่ ตัวไหนรอได้ค่อยอัพภายหลัง อย่างไรก็ตาม การที่ท่านคอยหมั่นเช็คอยู่เสมอก่อนจะปิดเครื่องเลิกทำงานในแต่ละวัน จะช่วยให้ท่านไม่พลาดในการอัพเดทที่สำคัญ หรือทำให้เราชะลอการอัพเดทไว้ก่อนเพราะยังมีงานที่ต้องทำคั่งค้างอยู่ โดยไปที่ Setting > Windows Update ดังภาพ

windows update 10

คลิกที่ Check for Udates ก็จะทราบว่ามีอะไรใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องอัพเดททันทีไหม ถ้าพบว่ามี แต่ยังไม่สำคัญนักก็สามารถหยุดการอัพเดทไว้ก่อน โดยกำหนดระยะเวลาที่ต้องการได้ ตั้งแต่ 1-5 สัปดาห์เลยทีเดียว เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงานของเราในช่วงนั้นๆ ครับ

ที่มา : https://www.makeuseof.com/windows-update-terms-explained/

Update ล่าสุด

Microsoft ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่าน Windows IT Pro Blog ถึงการทำงานของ Windows Update ที่เราไม่เคยรู้กันมาก่อนว่า Microsoft จะเริ่มปล่อยไฟล์อัพเดทให้กับเครื่องพีซีที่เชื่อมต่อมายังเซิร์ฟเวอร์ Windows Update นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไปเท่านั้น

เหตุผลมาจากการศึกษาของ Microsoft เองที่ทดสอบว่า ระยะเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการติดตั้งอัพเดทหรือไม่ ซึ่งไมโครซอฟท์พบว่าตัวเลขที่เหมาะสมคือ 2 ชั่วโมงหลังไคลเอนต์ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ครั้งแรก (มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Update Connectivity) และต้องรอหลังอัพเดทนั้นถูกปล่อยอย่างเป็นทางการ นับเป็นเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์รวมกันนาน 6 ชั่วโมงขึ้นไป

สถิติของ Microsoft เองบอกว่าพีซีที่ไม่ได้อัพเดตนานๆ มักไม่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้ ผลคือ แพตช์ที่ติดตั้งเก่าและมักทำให้อัพเดตล้มเหลว หรืออธิบายง่ายๆ คือเครื่องที่มีค่า Update Connectivity ต่ำ แปลว่าไม่ค่อยได้อัพเดตแพตช์ล่าสุดเท่าไรนัก Microsoft แนะนำให้แอดมินองค์กรแจ้งให้ผู้ใช้งานพีซีทราบว่า ควรเปิดเครื่องและต่อเน็ตทิ้งไว้บ่อยๆ จะเป็นผลดีมากกว่าปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน

ที่มา : Windows IT Pro Blog

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)